Table of Contents
Table of Contents

การเทรด Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) คือ อะไร ลงทุนอย่างไร ?

การเทรด Commodity

การเทรด Commodity หรือ หุ้น Commodity คือ การลงทุนใน สินค้าโภคภัณฑ์ ที่ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1848 ซึ่งในปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มเทรดเดอร์ เนื่องจากสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง โดยความผันผวนของราคา Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) เป็นปัจจัยหลักที่ดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรเป็นจำนวนมาก ในบทความนี้ เราจะอธิบายเกี่ยวกับ Commodity คือ อะไร? , ประเภทของ Commodity , การเทรด Commodity และช่องทางการลงทุนใน Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) เพื่อให้คุณเข้าใจมากขึ้นและนำไปประยุกต์ใช้ในกลยุทธ์การเทรดของคุณ หวังว่าบทความของเราจะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรของคุณ

———————————— 🐣 ————————————

Commodity คือ อะไร ?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) คือ การลงทุนจากความผันผวนราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ หรือที่หลายคนเรียกกันว่า หุ้น Commodity ในทางเศรษฐกิจมันเป็นสินค้าที่เป็นวัตถุดิบพื้นฐานหรือวัตถุดิบตั้งต้นจากทรัพยากรธรรมชาติ โดยจะถูกนำไปใช้เป็นฐานในการผลิตสินค้า ตัวอย่างเช่น น้ำตาลและโกโก้ เปรียบเสมือน สินค้าโภคภัณฑ์ ที่เป็นพื้นฐานหรือวัตถุดิบของช็อกโกแลตแท่งนั่นเอง

การซื้อขาย ‘Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์)’ ด้วยตราสารอนุพันธ์ เช่น ฟิวเจอร์ส หรือ CFD กำลังได้รับความนิยมจากเทรดเดอร์มากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก “ผลตอบแทนจากความผันผวน” ที่สูงมาก ประกอบกับการเทรดด้วย CFD ทำให้เทรดเดอร์สามารถทำกำไรจากราคาได้ทั้งแนวโน้มขาขึ้นและขาลง

สรุปง่าย ๆ Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) คือ สินค้าที่ได้จากการสกัด, ปลูก หรือผลิต ซึ่งส่วนมากเทรดเดอร์จะทำ การเทรด Commodity หรือลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมและการมีสภาพคล่องสูงสุดในตลาด

Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์)

ประเภท การเทรด Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) ในตลาด

Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) ที่ซื้อขายโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ดังนี้

Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) ภาคเกษตรกรรม

วัตถุดิบต่าง ๆ เช่น น้ำตาล, คอตต้อน, เมล็ดกาแฟ เป็นต้น และธัญพืช อาจมีความผันผวนมากในช่วงฤดูร้อนหรือในช่วงการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ

Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) ภาคพลังงาน

เช่น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม, น้ำมัน และก๊าซ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรตระหนักด้วยว่าเศรษฐกิจเป็นอย่างไร และการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในการผลิตล้วนส่งผลกระทบต่อราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์ในกลุ่มพลังงาน

Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) กลุ่มโลหะมีค่า

เช่น ทองคำ, เงิน, แพลตทินัม รวมถึงโลหะพื้นฐานอย่างทองแดงอีกด้วย และในช่วงที่ตลาดผันผวนนักลงทุนอาจตัดสินใจลงทุนในโลหะมีค่าเพื่อป้องกันช่วงเงินเฟ้อหรือค่าเงินที่อ่อนค่าลง

Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) ภาคปศุสัตว์

เช่น เนื้อหมูสามชั้น, วัวเป็น และปศุสัตว์ทั่วไป และสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทเนื้อสัตว์

ช่องทาง การเทรด Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์)

การเทรด Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) เป็นเหมือนการสะสมมูลค่า เนื่องจากในระยะยาว Commodity จะมีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากความต้องการของคนทั่วไป แต่การลงทุนแบบปกติคงไม่ตอบโจท์เท่าไร เช่น เราไม่สามารถซื้อน้ำมันดิบสะสมไว้บ้าน ได้ ดังนั้น จึงมีการคิดค้น การเทรด Commodity ขึ้นมา โดยเราจะทำธุรกรรมผ่นตลาดเงิน หากใครมองภาพไม่ออก มันคล้ายกับการเทรดหุ้น, Forex และ Cryptocurrency นั่นเอง ซึ่ง การเทรด Commodity สามารถทำได้ ดังนี้

  • Commodity CFD
  • หุ้น Commodity
  • กองทุนรวม Commodity

การเทรด Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) มีข้อดีอะไรบ้าง ?

  • Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) สภาพคล่องสูง (ซื้อขายทันที ซื้อขายกับตลาดโลก)
  • ลงทุนใน Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) ที่หลากหลายด้วย 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ สินค้าเกษตร พลังงาน โลหะ และกลุ่มปศุสัตว์ และสินค้าโภคภัณฑ์มากกว่า 30 รายการ
  • มีความโปร่งใส่สูง
  • ราคาหลักทรัพย์และพันธบัตรเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งจะสามารถช่วยปกป้องตนเองจากการลงทุน และเสริมสร้างสภาพคล่องในการลงทุนในหุ้นได้
  • Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) ใช้ป้องกันผลจากภาวะอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากสินค้าโภคภัณฑ์เป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้ดีแม้ว่าภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ราคาของพันธบัตรและหุ้นตกต่ำลง
  • โอกาสในการเติบโตสูงตามระยะเวลา เนื่องจากอุปสงค์ในสินค้าโภคภัณฑ์บางตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ และมีทรัพยากรลดน้อยลงเรื่อย ๆ

การเทรด Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) ต้องรู้อะไรบ้าง ?

  • Commodities Market – ต้องการเข้าใจตลาดประเภทนี้ ว่ามีอะไรบ้าง
  • Product – รู้จักสินค้าที่เราจะเทรด
  • Contract Type –  ดูประเภทสัญญาต่าง ๆ เพราะในแต่ละสินค้าจะมีสัญญาหลายประเภท
  • Time and Expired date – สัญญาบางประเภทมีช่วงเวลาเทรด และวันหยุดอายุ
  • Risk Control – การหามูลค่าของสัญญาแต่ละประเภท ไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน
  • Rollover – วิธีการต่อสัญญาที่หมดอายุ ซึ่งจะมีขั้นตอนที่ได้เปรียบและเสียเปรียบ

และแน่นอนว่า ถ้าหากคุณต้องการเริ่ม เทรด Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) จำเป็นต้องเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ ซึ่งการเลือกโบรกเกอร์ที่ดีก็เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการเพิ่มโอกาสการทำกำไรของคุณให้มากขึ้น

คุณกำลังมองหาโบรกเกอร์ เทรด Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) อยู่หรือเปล่า ?

โบรกเกอร์ Forex สเปรดต่ำ

โบรกเกอร์ Forex Free Swap

โบรกเกอร์ Forex เทรดทอง

โบรกเกอร์ Forex ยอดนิยม

โบรกเกอร์ Forex ฝากถอนไว

โบรกเกอร์ Forex ที่น่าเชื่อถือ

โบรกเกอร์ Forex โบนัสฟรี เทรดฟรี

———————————— 🐣 ————————————

สรุปเกี่ยวกับ Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์)

ทั้งหมดนี้ก็เป็นความรู้และความหมายของการเทรด Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) ที่เรานำมาฝากกัน ซึ่งกระแสการลงทุนในยุคนี้ถือว่ามาแรงมาก ๆ หากใครกำลังสนใจการลงทุน สิ่งที่ควรคำนึงถึงเลยคือ การเลือกโบรกเกอร์ที่มีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์นักลงทุน ยกตัวอย่าง เช่น ต้องเป็นโบรกเกอร์ที่สามารถเทรดได้หลากหลายตลาด, มีการฝาก-ถอนที่รวดเร็ว, ค่า Commission ต่ำ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การเทรด Commodity (สินค้าโภคภัณฑ์) เป็นช่องทางการลงทุนที่ไม่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก และทางทีมงาน Gotradehere ก็เชื่อว่านี่เป็นช่องทางการลงทุนที่น่าดึงดูดเพื่อทำกำไร แต่นักลงทุนยังต้องศึกษาและวิเคราะห์ราคาตลาดอย่างจริงจังเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น


อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge

อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News

Table of Contents
TOP FOREX BROKERS
1
5/5
IUX Markets
IUX Markets
5/5
2
3/5
IC Markets
IC Markets-top-forex-brokers
IC Markets
4/5
3
4/5
FXGT.com
FXGT.com
4/5
4
3/5
Hantec Markets
Hantec Markets
3/5
5
4/5
Eightcap
Eightcap
3/5

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

– Advertisement –

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

FOLLOW US
บทความที่เกี่ยวข้อง

– Advertisement –