Table of Contents
Table of Contents

USD/JPY อ่อนค่าจากการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ย

จากต้นทุนการนำเข้าที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวต่ำลง และความแตกต่างของนโยบายการเงินระหว่างเฟด-ธนาคารกลางญี่ปุ่น ทำให้ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าสุดในรอบ 2 ปี ส่วนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเองก็ยังคงอ่อนค่าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน

โดยดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ติดตามค่าเงินดอลลาร์เทียบกับกลุ่มสกุลเงินอื่น ๆ ลดลง 0.26% มาอยู่ที่ 98.540 เมื่อช่วงเช้าของเช้ามืดของวันศุกร์ตามเวลาไทย ก่อนจะปิดตลาดไปที่ 98.781 ในช่วงเช้ามืดของวันเสาร์

ส่วนค่าเงินเยนอ่อนค่า ลดลง 0.61% เป็น 121.58 ซึ่งถือว่าเป็นสัปดาห์ที่แย่ที่สุด โดยมีราคาเปิดวันจันทร์ที่ 21 มีนาคม อยู่ที่ 119.17 ก่อนจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 122.05 ณ สิ้นวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม หรือก็คือช่วงเช้ามืดวันเสาร์ตามเวลาไทย

วันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้เปิดเผยข้อมูลซึ่งแสดงให้เห็นว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของโตเกียว (CPI) สำหรับเดือนมีนาคม 2022 ขยายตัว 1.3% และ CPI หลักของโตเกียว เพิ่มขึ้น 0.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่วน CPI ดัชนีราคาผู้บริโภคไม่รวมอาหารและพลังงาน ก็เพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เงินเยนยังคงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ โดยตกลงผ่านระดับ 120 ส่วนสาเหตุที่ทำให้เงินเยนอ่อนค่าในครั้งนี้มีเหตุผลสำคัญ คือ นโยบายที่ผ่อนคลายจากทางธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในขณะที่นโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ค่อนข้างจะแข็งกร้าว ทำให้สถานการณ์เงินเยนไม่ค่อยดีนักในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีนักลงทุนบางส่วนออกมาเตือนถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้

ยกตัวอย่าง เช่น เบรนท์ ดอนเนลลี่ เทรดเดอร์ และประธานบริษัท Spectra Markets ซึ่งกล่าวกับรอยเตอร์สว่า “สิ่งหนึ่งที่ควรจับตามองในสกุลเงินดอลลาร์/เยนคือการตอบโต้จากผู้กำหนดนโยบายในญี่ปุ่น”

นอกจากนี้ ทางธนาคารกลางญี่ปุ่นยังมีความพยายามที่จะป้องกันสถานการณ์อันเลวร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้มีการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนของตลาดตราสารหนี้ ซึ่งอาจจะทำให้เงินเยนมีการปรับตัวอ่อนค่าลงได้อีก

ส่วนค่าเงินอื่น ๆ อย่างดอลลาร์ออสเตรเลีย เพิ่มขึ้น 0.08% เป็น 0.7518, ดอลลาร์นิวซีแลนด์ เพิ่มขึ้น 0.06% เป็น 0.6969, เงินปอนด์ ขยับขึ้น 0.19% เป็น 1.3208 ในขณะที่เงินหยวน ลดลง 0.1% เป็น 6.3616 ในช่วงเช้าของวันศุกร์

อีกปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และเงินเยนอ่อนค่ายังมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนพลังงาน และอาหารมีการปรับตัวสูงขึ้นจากความกังวลที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระทบไปถึงเศรษฐกิจยุโรปด้วยเช่นกัน ทำให้เงินยูโรอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีการตรึงราคาไว้ที่ 1.1005 ดอลลาร์

โดยประเทศผู้ส่งออกพลังงาน และอาหารที่ได้รับผลประโยชน์ในครั้งนี้ คือ ออสเตรเลีย ทำให้ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียมีการปรับตัวขึ้นมากกว่า 1% ในช่วงนี้

ส่วนทางรูเบิลรัสเซียเองก็มีแนวโน้มที่เริ่มทรงตัวขึ้นในยุโรป จากการที่ วลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีประเทศรัสเซีย ประกาศเริ่มขายก๊าซให้กับประเทศที่ไม่เป็นมิตรกับรัสเซียแล้ว หลังจากที่โดนโจมตีอย่างหนัก

อย่างไรก็ตาม ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และเงินเยนที่อ่อนค่าลงเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นมาเล็กในช่วงปลายสัปดาห์ กระนั้น นักลงทุนยังควรติดตามสถานการณ์ และข่าวสารต่อไปอย่างใกล้ชิดว่าค่าเงินเยนจะสามารถผ่านวิกฤตในครั้งนี้ไปได้หรือไม่

Table of Contents
TOP FOREX BROKERS
1
5/5
IUX Markets
IUX Markets
5/5
2
3/5
IC Markets
IC Markets-top-forex-brokers
IC Markets
4/5
3
4/5
FXGT.com
FXGT.com
4/5
4
3/5
Hantec Markets
Hantec Markets
3/5
5
4/5
Eightcap
Eightcap
3/5

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

– Advertisement –

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

FOLLOW US
บทความที่เกี่ยวข้อง

– Advertisement –