ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีปัจจุบัน ทุกคนคงคุ้นหูกันกับคำว่า Blockchain กันมาไม่มากก็น้อยเลยนะครับ แต่หลายคนอาจจะยังไม่มั่นใจหรืออาจจะยังไม่รู้ความหมายที่แท้จริงว่า Blockchain คืออะไร
วันนี้ทีมงาน Gotradehere จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกับความหมายของ Blockchain รวมถึงกลไกในการทำงานด้วยครับ
Blockchain คืออะไร ?
คำนิยามระบุไว้ว่า Blockchain เป็นบัญชีที่ทำหน้าที่แยกประเภทดิจิทัลของธุรกรรมที่ดูแลโดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ครับ และมีจุดเด่นในลักษณะที่ทำให้แฮ็กหรือเปลี่ยนแปลงได้ยากมาก จึงทำให้มีความปลอดภัยสูง ซึ่งเทคโนโลยีนี้นำเสนอวิธีการที่ปลอดภัยในการติดต่อซึ่งกันและกันโดยตรงแบบไม่ต้องมีคนกลาง เช่น รัฐบาล ธนาคาร หรือบุคคลที่สามอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเลย
การทำงานของ Blockchain
ถ้าจะให้เปรียบเทียบการทำงานของเทคโนโลยี Blockchain นั้น คงต้องเปรียบเทียบกับวิธีการทำงานของเอกสาร Google Doc ครับ เช่น เมื่อคุณสร้าง Google เอกสารและแชร์กับกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่คุณต้องการ เอกสารจะถูกแจกจ่ายแทนที่จะคัดลอกหรือโอนให้กับกลุ่มคนเหล่านั้นด้วย สิ่งนี้คือการสร้างห่วงโซ่แบบกระจายอำนาจที่ให้ทุกคนเข้าถึงไฟล์เอกสารหลักได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่มีใครถูกล็อกให้รอการเปลี่ยนแปลงจากฝ่ายอื่น ให้ทำเสร็จก่อนค่อยเข้าไปได้ ในขณะที่การแก้ไขทั้งหมดในเอกสารจะถูกบันทึกแบบเรียลไทม์ ทำให้การเปลี่ยนแปลงมีความโปร่งใสอย่างสมบูรณ์เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เห็นด้วยกันทั้งหมดครับ ก็คือใครก็ตามที่เข้าไปแก้ไขไฟล์ Google Doc ผู้อื่นก็จะเห็นเช่นกันนั่นเอง
แต่จุดที่ไม่เหมือนกันคือ Blockchain ไม่สามารถทำการแก้ไขได้เหมือนกัน Google Doc ครับ เพื่อเป็นการป้องกันและเพิ่มความปลอดภัยนั่นเอง และแน่นอนว่า Blockchain นั้นซับซ้อนกว่า Google Doc อยู่มากโขเลย แต่ที่ทางทีมงานนำมาเปรียบเทียบนั้น เพราะมันแสดงให้เห็นแนวคิดที่สำคัญของเทคโนโลยีว่าทำงานอย่างไร เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพได้ชัดขึ้นครับ
จุดเด่นของ Blockchain
คงต้องบอกเลยว่าจุดเด่นของระบบ Blockchain ที่เป็นที่ยอมรับ นั่นก็คือ ระบบความปลอดภัยนั่นเองครับ เพราะการทำงานของระบบนี้มีการทำงานแบบบันทึกข้อมูลเป็นชุดและนำมาร้อยเรียงต่อกันเป็นกล่อง จึงเป็นเรื่องยากมากที่จะปลอมแปลง, เปลี่ยนแปลง หรือแฮ็กข้อมูลครับ
เทคโนโลยี Blockchain กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ด้วยความที่ Blockchain มีความปลอดภัยสูงมากจึงเป็นจุดเด่นสำหรับการนำมาปรับใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างมากครับ เพราะจะช่วยให้ระบบมีความโปร่งใสและปลอดภัย สามารถตรวจสอบได้ และยากต่อการถูกแฮ็กหรือเสียหาย ดังนั้น จึงมีหลายอุตสาหกรรมที่นำ Blockchain มาใช้ในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น
1. อุตสาหกรรมการเงิน
Blockchain จะช่วยทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการธนาคารและการเงิน เพราะระบบการเงินนั้นจำเป็นอย่างยิ่งครับที่จะต้องมีความโปร่งใสและความปลอดภัยในการทำธุรกรรม เนื่องจากการฉ้อโกงเกี่ยวกับเงินกำลังเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในยุคนี้ เมื่อใช้ระบบ Blockchain ก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและความสะดวกสบายให้กับลูกค้า ตลอดจนการรองรับสกุลเงินต่าง ๆ ด้วยครับ
2. อสังหาริมทรัพย์
อสังหาริมทรัพย์ได้รับประโยชน์อย่างมากจาก Blockchain ครับ เพราะอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้เลยว่ามีการปรับใช้ระบบ Blockchain แทนพ่อค้าคนกลางในอุตสาหกรรม เช่น ตัวแทน นายหน้า ผู้จัดการทรัพย์สิน ผู้ให้กู้และอื่น ๆ ซึ่งไม่เพียงเพิ่มความโปร่งใสและความรับผิดชอบเท่านั้น แต่ยังให้การเข้าถึงโดยตรงสำหรับผู้เล่นรายย่อย เช่น เจ้าของบ้านและนักลงทุน เรียกได้ว่าทั้งปลอดภัยและสบายใจเลยครับ
3. การจัดส่งสินค้าและโลจิสติกส์
เพราะว่าการมีบันทึกที่สามารถติดตามได้และมีความโปร่งใสจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมนี้ครับ จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ซื้อและผู้ขาย รวมถึงลดการใช้ตัวกลางที่อาจจะเป็นอันตรายต่อลูกค้าด้วย
4. การเดินทางและคมนาคม
อุตสาหกรรมการเดินทางและคมนาคมตัวสามารถใช้ประโยชน์จาก Blockchain เพื่อทำให้ระบบการขายตั๋วเครื่องบินและบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องบินปลอดภัยและครอบคลุมได้ รวมไปถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับยานยนต์ เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ เพราะสามารถบันทึกข้อมูลเพื่อป้องกันการฉ้อโกงและเข้าถึงได้ง่ายขึ้นด้วยครับ ทั้งนี้ ผู้ขายและผู้เช่ารถยนต์สามารถได้รับประโยชน์จากกระบวนการขายที่คล่องตัว ซึ่งไม่ต้องใช้เอกสารยุ่งยากอีกด้วย
5. สื่อ
ในโลกที่เราอาศัยอยู่ การผลิตและจัดจำหน่ายสื่อ (เช่น NBC, ESPN, Sky, NFL, Amazon และอื่น ๆ) นั้นทำเงินจากการเป็นเจ้าของเนื้อหาและการออกใบอนุญาตนั่นเองครับ ซึ่ง Blockchain ก็จะตอบโจทย์ในส่วนนี้ เพราะสามารถอ้างสิทธิ์การเป็นเจ้าของภาพ, เสียง หรือวิดีโอได้ เพื่อป้องกันการถูกขโมยหรือนำไปใช้โดยไม่ขออนุญาตนั่นเองครับ
จากที่ยกตัวอย่างมา คงจะเห็นภาพได้มากขึ้นนะครับว่าระบบ Blockchain นั้นสามารถนำมาปรับใช้ได้มากมายเลย และเป็นประโยชน์กับหลายภาคส่วนเพราะมีความปลอดภัยสูงด้วย หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ความรู้กับทุกคนได้ไม่มากก็น้อยนะครับ
Source : Investopedia