GDP คืออะไร ? GDP ช่วยให้เราเข้าใจเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศได้อย่างไร ? เชื่อว่าหลายคนคงเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับค่า GDP ว่ามีความสำคัญอย่างไรต่อเศรษฐกิจ ทำไมทุกครั้งที่ฟังข่าวเศรษฐกิจต้องได้ยินคำว่า GDP แล้วทำไมเราจึงต้องติดตามและให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ วันนี้ทางทีมงาน GoTradeHere จะพาทุกท่านมาเจาะลึกและไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ GDP รับรองว่าอ่านบทความนี้จบแล้วทุกท่านจะเข้าใจ GDP เพิ่มมากขึ้นแน่นอนครับ
ทำความรู้จักค่า GDP คืออะไร ?
ค่า GDP คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ซึ่งเป็นมูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง และค่า GDP สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศนั้น ๆ ได้อีกด้วย โดย GDP ย่อมาจาก Gross Domestic Product
เรียกง่าย ๆ ว่า GDP คือ ตัวชี้วัดที่กว้างที่สุดของเศรษฐกิจภายในประเทศ เพราะตัวเลข GDP จะแสดงถึงมูลค่าทางการเงินของสินค้าและบริการที่ผลิตในพรมแดนของประเทศนั้น ๆ ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปคือ 1 ปี ส่วนใหญ่แต่ละประเทศจะกำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตรา 2% ต่อปี
เมื่อตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นความต้องการสกุลเงินของประเทศก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะทำให้สกุลเงินของประเทศนั้นมีมูลค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลอื่น ๆ แต่หากตัวเลข GDP ลดลงอาจหมายถึงประเทศไม่มีการเจริญเติบโต
🔎 รู้หรือไม่ หากการเติบโตของค่า GDP ติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน มักจะเป็นสัญญาณบ่งบอกในทางเทคนิคว่าเศรษฐกิจถึงภาวะถดถอย
สูตร GDP คืออะไร?
สูตร GDP คือ สูตรการคำนวณหาค่า GDP โดยการคำนวณเหล่านี้สามารถบอกเราได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ขนาดของเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าของเศรษฐกิจ และอื่น ๆ โดยสามารถคำนวณค่า GDP ได้ดังสูตรต่อไปนี้
GDP = C + I + G + (X-M)
- C (Consumption) = การบริการของภาคเอกชน
การบริหารของเอกชน และการบริโภคของประชาชนที่เป็นการจับจ่ายใช้สอยทั่วไป เช่น ค่าอาหาร ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น
- I (Investment) = การลงทุน
การลงทุนโดยรวมของภาคเอกชน เช่น การซื้อเครื่องจักร การสร้างอาคารสำนักงาน เป็นต้น
- G (Government Spending) = รายจ่ายของภาครัฐ
การใช้จ่ายรวมถึงการลงทุนของภาครัฐที่ดำเนินการตามนโยบายต่าง ๆ เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจ การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เป็นต้น
- X (Export) = การส่งออก
การขายสินค้าส่งออกให้กับต่างประเทศ
- M (Import) = การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าเข้ามาภายในประเทศ
🌟 Tips X – M หมายถึง Net Export หรือการดูมูลค่าการส่งออกสุทธิที่เปรียบเทียบได้ว่า การส่งออก (X) คือ รายได้ ส่วนการนำเข้า (M) คือ รายจ่าย ซึ่ง X-M ก็ หมายถึง รายได้-รายจ่ายนั่นเอง
GDP มีผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจ
ค่า GDP แสดงถึงการปรับตัวขึ้นลงของระบบเศรษฐกิจ หากค่า GDP ปรับตัวขึ้นหรือที่เรียกว่า GDP เป็นบวก แสดงให้เห็นว่า มีการบริโภคในปริมาณที่มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโต ส่งผลให้มีการปรับตัวเพิ่มมากขึ้นของการลงทุนในภาคเอกชน รวมไปถึงการใช้จ่ายจากภาครัฐและการส่งออกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
หาก GDP ลดลงหรือ GDP เป็นลบ จะแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจในขณะนั้น มีการชะลอตัวลง เพราะการใช้จ่ายของคนในประเทศลดลง ทำให้เม็ดเงินหมุนเวียนภายในประเทศลดลงตามไปด้วย
———————————— 🐣 ————————————
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของค่า GDP
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่า GDP สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
ปัจจัยด้านอุปสงค์ที่ส่งผลต่อค่า GDP
- การบริโภคของภาคเอกชน
- การลงทุน
- รายจ่ายของภาครัฐ
- การส่งออกสุทธิ
ปัจจัยด้านอุปทานที่ส่งผลต่อค่า GDP
- ปัจจัยการผลิต
- การเพิ่มขึ้นของความสามารถในการผลิต
- นโยบายภาครัฐ
- ปัจจัยภายนอกอื่น ๆ
ค่า GDP เป็นบวกหรือลบบอกอะไรเราบ้าง ?
ค่า GDP เป็นบวกหรือลบจะสามารถบ่งบอกถึงแนวโน้มภาพรวมของเศรษฐกิจได้ครับ โดยผมจะแบ่งให้เห็นถึงภาพรวมการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจรวมถึงผลกระทบที่จะตามมา ดังนี้
ค่า GDP เป็นบวก
ภาพรวมเศรษฐกิจ : ภาพรวมเศรษฐกิจมีการเติบโตและขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
ผลกระทบ : มีการจ้างงานและรายได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น
ความเสี่ยง : หากเศรษฐกิจเติบโตเร็วเกินไป อาจจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อตามมาได้
ค่า GDP เป็นลบ
ภาพรวมเศรษฐกิจ : ภาพรวมเศรษฐกิจชะลอตัวและซบเซา
ผลกระทบ : การว่างงานเพิ่มมากขึ้น รายได้ลดลง ส่งผลให้มาตรฐานการครองชีพแย่ลง
ความเสี่ยง : การเติบโตของธุรกิจเกิดการชะลอตัว และหากเศรษฐกิจถดถอยจะนำไปสู่ภาวะเงินฝืดได้
แม้ภาวะเงินฝืดจะส่งผลดีต่อผู้บริโภค แต่ในทางกลับกันเงินฝืดอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ เนื่องจากจะทำให้ธุรกิจมีกำไรลดลง ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นครับ
ค่า GDP ส่งผลอย่างไรต่อตลาด Forex?
ค่า GDP มีผลต่อตลาด Forex เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าเงินเป็นอย่างมาก หากค่า GDP สูงขึ้น จะส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น แต่ถ้าหาก ค่า GDP ลดลง จะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง อีกทั้ง GDP ยังส่งผลต่อราคาทองคำอีกด้วย
เมื่อคุณเข้าใจเกี่ยวกับ GDP มากขึ้นแล้ว ก็จะสามารถเข้าออเดอร์ได้อย่างถูกต้องมากขึ้น และหากวันใดมีการประกาศเกี่ยวกับค่า GDP ก็ให้เตรียมตัวเตรียมใจไว้เลยและหวังว่าบทความนี้ จะทำให้ตัดสินใจเข้าออเดอร์ได้ดียิ่งขึ้นนะครับ
⚠️ อย่างไรก็ตาม กระแสการลงทุนในยุคนี้ถือว่ามาแรงมาก ๆ หากใครกำลังสนใจการลงทุน สิ่งที่ควรคำนึงถึงเลยคือ การเลือกโบรกเกอร์ ที่มีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์นักลงทุน ยกตัวอย่างเช่น ต้องเป็นโบรกเกอร์ที่สามารถเทรดได้หลากหลายตลาด, มีการฝากเงินที่รวดเร็ว และ ค่า Commission ต่ำ เป็นต้น
Leverage สูงสุด : 1:3000
ฝากขั้นต่ำ : $10
โบนัสต้อนรับ : $30
Free Swap
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ GDP
GDP ส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจ ?
➣ GDP เป็นบวกจะแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก และหาก GDP เป็นลบจะแสดงถึงเศรษฐกิจมีการชะลอตัวลง ทำให้เงินหมุนเวียนในประเทศลดลงตามไปด้วย
จุดอ่อนของการวัด GDP คืออะไร ?
➣ จุดอ่อนของการวัด GDP ประกอบไปด้วย 3 ข้อ ได้แก่
- GDP ไม่รวมมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ซื้อขายผ่านตลาด
- GDP ไม่ได้คำนึงถึงการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
- GDP ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องคุณภาพของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่เสื่อมโทรม
GDP มีความสำคัญอย่างไร ?
➣ GDP มีความสำคัญในการแสดงถึงมูลค่าทางการเงินของสินค้าและบริการที่ผลิตในพรมแดนของประเทศนั้น ๆ ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งปกติแล้ว ในระยะเวลา 1 ปี ประเทศส่วนใหญ่จะกำหนดค่า GDP ไว้ที่ 2% ต่อปี
GDP Per Capita คืออะไร ?
➣ GDP Per Capita คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อประชากรหนึ่งคนในประเทศนั้น ๆ ครับ
GNP = GDP คืออะไร ?
➣ GNP = GDP หมายความว่า รายได้ของคนในประเทศที่ได้รับจากต่างประเทศ เท่ากับรายได้ที่คนในประเทศได้รับจากในประเทศ
สรุป ค่า GDP คืออะไร ?
ค่า GDP หรือค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ คือ มูลค่าโดยรวมของตลาดของทั้งสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตภายในประเทศนั้น ๆ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วคือ 1 ปี โดยค่า GDP สามารถบ่งบอกถึงภาพรวมของเศรษฐกิจโดยรวมได้ครับ
ถึงอย่างไรก็ตามค่า GDP ก็เป็นเพียงตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่ใช้ประเมินความก้าวหน้าของเศรษฐกิจเท่านั้น ดังนั้นควรพิจารณาร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบครันของสภาพเศรษฐกิจ ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge
อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News