Table of Contents
Table of Contents

Paypal คืออะไร? ช่องทางการชำระเงินออนไลน์สำหรับนักลงทุน

paypal คือ

ในยุคดิจิทัลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว ทำให้มีช่องทางการชำระเงินออนไลน์ต่าง ๆ เข้ามามากมาย หรือที่เราเรียกกันว่า ​​​​​​​​​​​​​​​​​Internet Payment เช่น พร้อมเพย์ หรือการโอนเงินระหว่างธนาคาร ซึ่งช่วยให้เราสามารถชำระสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็ว สำหรับในโลกการลงทุน ไม่ว่าเราจะซื้อขายสินทรัพย์ใดในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทางโบรกเกอร์จะมีช่องทางการชำระเงินรองรับมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การเลือกช่องทางการชำระเงินเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เทรดเดอร์ทุกคนควรมีความรู้และทำความเข้าใจ เนื่องจากในแต่ละโบรกเกอร์มีช่องทางที่แตกต่างกัน และช่องทางเหล่านั้นก็มีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันออกไปเช่นกัน ดังนั้น หากคุณเลือกช่องทางการชำระเงินให้เหมาะสมจะทำให้คุณสามารถจัดการ Money Management ได้ดีมากขึ้น

ในบทความนี้ เราจะอธิบายถึงช่องทางการชำระเงินออนไลน์ที่ให้บริการผ่านโบรกเกอร์จำนวนมาก และได้รับความนิยมในระดับสากล มันถูกเรียกว่า Paypal ซึ่ง Paypal คือ e-Currency (Electrical Currency) ที่ใช้ดำเนินธุกรรมทางออนไลน์ โดยมีหน้าที่คล้ายกับธนาคารแต่มีความสะดวกมากกว่า

  • Paypal คือ อะไร ?
  • Paypal กลับมาให้บริการในไทยหรือยัง?
  • เงื่อนไขการใช้บริการ Paypal ในประเทศไทย
  • ค่าธรรมเนียมของ Paypal คือ เท่าไร
  • ทำไม Paypal คือ ช่องทางชำระเงินยอดนิยม
  • ข้อดี-ข้อเสียของ Paypal

———————————— 🐣 ————————————

Paypal คืออะไร?

Paypal คือ แพลตฟอร์มการชำระเงินที่มีเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นทางโทรศัพท์ ทำหน้าที่เหมือนธนาคารออนไลน์ ซึ่งจะเข้ามาช่วยเรื่องการโอนเงินระหว่างประเทศทั่วโลกให้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยคุณสามารถสร้างบัญชี Paypal เชื่อมต่อกับบัตรเครดิตและ Online Banking ได้ นอกจากนี้ Paypal สามารถรับชำระเงินได้มากกว่า 100 สกุลเงิน ส่งผลให้ผู้ทำธุรกิจสามารถนำไปต่อยอดการค้าขายในต่างประเทศได้

paypal คือ
Paypal คืออะไร? ช่องทางการชำระเงินออนไลน์สำหรับนักลงทุน 3

Paypal กลับมาให้บริการในไทยหรือยัง?

Paypal เปิดให้บริการในไทยอย่างเป็นทางการ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงทำตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายอย่างถูกต้อง โดยประชากรไทยสามารถใช้ Paypal เพื่อชำระค่าบริการต่าง ๆ ผ่าน Apple Pay, พร้อมเพย์, Google Wallet และอื่น ๆ อีกมากมาย

เงื่อนไขการใช้บริการ Paypal ในประเทศไทย

ปัจจุบันต้องยอมรับว่า การทำธุรกรรมการเงินผ่าน PayPal มีข้อจำกัดการใช้งานมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการโอนเงินต่างประเทศมองหาทางเลือกอื่นมากขึ้น แต่ Paypal ยังได้รับความนิยมมากในกลุ่มเทรดเดอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางชำระเงินที่ให้บริการกับโบรกเกอร์หลายราย

ประเภทบัญชีของ Paypal

  • บัญชีบุคคล PayPal ประเทศไทย (บุคคลธรรมดาในประเทศไทย)
  • บัญชีธุรกิจ PayPal ประเทศไทย (ธุรกิจที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นนิติบุคคล)

หลักเกณฑ์การทำธุรกรรมการเงินผ่าน Paypal

  • ผู้ใช้งานต้องยืนยันตัวตนผ่านแพลตฟอร์ม NDID (National Digital ID)
  • Paypal อนุญาตให้ผู้ใช้บริการบัญชีบุคคลธรรมดาในประเทศไทยเฉพาะผู้ที่ถือสัญชาติไทยที่มีเลขบัตรประชาชน 13 หลักเท่านั้น
  • การทำธุรกรรมผ่าน PayPal ของผู้ใช้บัญชีเดิมจะถูกจำกัดวงเงินในรอบ 28 วัน สำหรับการชำระสินค้าและบริการต่าง ๆ นอกประเทศไทยอยู่ที่ 50,000 บาท
  • ผู้ใช้บัญชีบุคคลธรรมดาไม่สามารถโอนเงินและรับเงินโอนจากครอบครัวและเพื่อนได้อีกต่อไป รวมทั้ง การเติมเงินเข้าบัญชี PayPal เพื่อชำระสินค้าก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน โดยผู้ใช้งานต้องชำระสินค้าด้วยบัตรเครดิตหรือเดบิตที่เชื่อมโยงกับบัญชี PayPal
  • อนุญาตให้ถอนเงินเข้าบัญชีในสกุลเงินที่เชื่อมต่อในบัญชี PayPal เท่านั้น โดยการชำระเงินเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยให้ชำระเป็นสกุลเงินบาท สำหรับการชำระเงินเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศยังชำระสกุลเงินอื่น ๆ ได้ โดยการแปลงสกุลเงินบาทเป็นสกุลเงินต่างประเทศและมียอดจำกัดอยู่ที่ 800,000 บาท ต่อวัน

ค่าธรรมเนียมของ Paypal คือ เท่าไร

ค่าธรรมเนียมการชำระสินค้าของ Paypal

Paypal ไม่มีค่าธรรมเนียมในการชำระสินค้า แต่จะเป็นในทางค่าธรรมเนียมของการที่คุณจะต้องแปลงเงินบาทเป็นเงินสกุลอื่นมากกว่า โดยมีรายละเอียด ดังนี้

สกุลเงินค่าธรรมเนียม
AUD, BRL, CAD, CZK,
DKK, EUR, HKD, HU,
ILS, JPY, MYR, MXN,
TWD, NZD, NOK, PHP,
PLN, RUB, SGD, SEK,
CHF, THB, GBP, USD
4%
สกุลเงินอื่น ๆ3%

ค่าธรรมเนียมการถอนเงินของ Paypal

สำหรับค่าธรรมเนียมในการถอนเงินยังไม่รวมกับค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงิน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การถอนเงินค่าธรรมเนียม
ถอนเข้าบัญชีธนาคารไทยมากกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท
ถอนเข้าบัญชีธนาคารไทยน้อยกว่า 5,000 บาท50 บาท
ถอนเงินเข้าบัญชีสหรัฐฯ$50

Paypal คุณสามารถถอนเงินไปยังบัญชีธนาคารที่เชื่อมต่อหรือผูกบัตรเอาไว้ได้ โดยต้องถอนเป็นเงินบาท แต่หากต้องการถอนยอดคงเหลือในสกุลเงินอื่น คุณจะต้องแปลงสกุลเงินนั้น ๆ เป็นเงินบาทก่อน จากนั้นจึงทำการโอนเข้าบัญชีในประเทศไทย

หากคุณไม่ทำตามขั้นตอนข้างต้น PayPal จะแปลงสกุลเงินให้คุณอัตโนมัติตอนถอนเงิน แต่อาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินที่สูงกว่าปกติ

ค่าธรรมเนียมการชำระเงินของโบรกเกอร์ผ่าน Paypal

ปัจจุบันมีโบรกเกอร์หลายรายที่รองรับการชำระเงินผ่าน Paypal เนื่องจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น การเทรด Forex, การเทรดหุ้น รวมไปถึงการเทรด Cryptocurrency ส่วนใหญ่กระดานเทรดเหล่านี้จะเป็นของต่างประเทศ และให้บริการแก่เทรดเดอร์ทั่วโลก ดังนั้น โบรกเกอร์จึงจำเป็นต้องมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย และยอมรับในระดับสากล ซึ่ง Paypal คือ หนึ่งในช่องทางที่เป็นที่ต้องการ

สำหรับค่าธรรมเนียมการชำระเงิน หรือซื้อขายสินทรัพย์ผ่าน Paypal จะไม่เท่ากันในแต่ละโบรกเกอร์ เนื่องจากบางโบรกเกอร์อาจมีการบวกค่าธรรมเนียมเพิ่มจากที่ทาง Paypal กำหนดมา

คุณกำลังมองหา “โบรกเกอร์ที่ดี” และ “มีช่องทางการชำระเงินที่สะดวกและรวดเร็ว” อยู่หรือไม่ ?

โบรกเกอร์ Forex สเปรดต่ำ

โบรกเกอร์ Forex Free Swap

โบรกเกอร์ Forex เทรดทอง

โบรกเกอร์ Forex ยอดนิยม

โบรกเกอร์ Forex ฝากถอนไว

โบรกเกอร์ Forex ที่น่าเชื่อถือ

โบรกเกอร์ Forex โบนัสฟรี เทรดฟรี

ทำไม Paypal คือ ช่องทางชำระเงินยอดนิยม

paypal คือ
Paypal คืออะไร? ช่องทางการชำระเงินออนไลน์สำหรับนักลงทุน 4
  • โบรกเกอร์หลายรายรองรับการซื้อขายสินทรัพย์ผ่าน Paypal
  • Paypal ช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินรวดเร็วยิ่งขึ้น
  • ระบบการชำระเงินของ Paypal สามารถคุ้มครองได้ทั้งเจ้าของธุรกิจ และผู้บริโภค ซึ่งทุกทางสามารถตรวจสอบได้ว่า สินค้าจัดส่งหรือยัง นอกจากนี้ หากมีปัญหาผู้ซื้อสามารถขอรับเงินคืนได้
  • Paypal คือ การชำระเงินที่มีเทคโนโลยีที่ป้องกันอาชญากรทางไซเบอร์
  • Paypal สามารถใช้งานได้ทั่วโลก

———————————— 🐣 ————————————

ข้อดี-ข้อเสียของ Paypal

ข้อดี-ข้อเสียของ Paypal สามารถแบ่งออกได้ตามตาราง ดังต่อไปนี้

ข้อดี

  • สามารถชำระสินค้าและบริการได้อย่างสะดวกสบาย
  • สามารถชำระเงินผ่านบัตรเครดิต, บัตรเดบิต หรือผูกบัญชีได้
  • สามารถใช้ได้กับร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ Paypal ทั่วโลก
  • สามารถชำระสินค้าและบริการได้อย่างปลอดภัย เนื่องจาก Paypal มีเทคโนโลยีที่ป้องกันอาชญากรทางไซเบอร์

ข้อเสีย

  • ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมบางรายการอาจสูงกว่าปกติ
  • ฝากเงินเข้าธนาคารไทยต้องใช้เวลา 2-5 วันทำการ
  • มีค่า Currency Conversion

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Paypal

Paypal ต้องยืนยันตัวตนหรือไม่?

Paypal จำเป็นต้องยืนยันตัวตนผ่านแพลตฟอร์ม NDID (National Digital ID)

Paypal สามารถใช้กับธนาคาร อะไรบ้าง?

Paypal สามารถใช้ได้กับหลายธนาคารในประเทศไทย เช่น ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารออมสิน และธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้น โดยสามารถตรวจสอบธนาคารที่ผูกบัญชีกับ Paypal อื่น ๆ ได้ทางเว็บไซต์ Paypal

Paypal สามารถโอนข้ามประเทศได้หรือไม่?

Paypal สามารถโอนข้ามประเทศได้ เพราะ Paypal เป็นแอปพลิเคชันที่สามารถเชื่อมบัญชีกับบัตรเครดิตและ Online Banking โดย Paypal จะเข้ามาช่วยเรื่องการโอนเงินระหว่างประเทศทั่วโลกให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

การเติมเงินเข้าบัญชี Paypal จากธนาคารทำได้อย่างไร?

ตัวเลือกการเติมเงินเข้าบัญชี Paypal ในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการได้ แต่หากผู้ใช้ต้องการชำระเงินจาก Paypay ผู้ใช้สามารถดำเนินการได้ทันที เนื่องจากบัญชี Paypal มีการเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตของคุณอยู่แล้ว

สรุป Paypal คืออะไร?

สำหรับเทรดเดอร์อย่างเราแล้ว การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของตลาดและเทคนิคในการเทรดต่าง ๆ ล้วนเป็นเรื่องสำคัญทั้งสิ้นที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในการลงทุน แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ Money Management ซึ่งการมีความรู้เกี่ยวกับช่องทางการชำระเงินต่าง ๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้คุณสามารถจัดการเรื่องเงินได้ดีขึ้น เนื่องจากแต่ละโบรกเกอร์มีช่องทางการชำระเงินและค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน ในบทความนี้ เราหยิบยกเรื่อง Paypal คือ อะไร? มาเขียน พร้อมรายละเอียดต่าง ๆ ที่คุณควรรู้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่เทรดเดอร์ทุกคน นอกจากนี้ Paypal ยังเป็นช่องทางการชำระเงินที่โบรกเกอร์หลายรายรองรับ จากความรวดเร็วของระบบ และการเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้น บทความจะเป็นประโยชน์แก่คุณไม่มากก็น้อย


อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge

อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News

Table of Contents
TOP FOREX BROKERS
1
5/5
IUX Markets
IUX Markets
5/5
2
3/5
IC Markets
IC Markets-top-forex-brokers
IC Markets
4/5
3
4/5
FXGT.com
FXGT.com
4/5
4
3/5
Hantec Markets
Hantec Markets
3/5
5
4/5
Eightcap
Eightcap
3/5

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

– Advertisement –

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

FOLLOW US
บทความที่เกี่ยวข้อง

– Advertisement –