โลกในปัจจุบันเป็นยุคที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากมาย และแน่นอนว่า สินทรัพย์ที่เราลงทุนก็มีให้เลือกมากขึ้นหลายอย่างด้วยกัน เช่น คริปโต ที่กำลังเป็นที่นิยมมากในขณะนี้ และหากพูดถึง คริปโต ก็คงตามมาด้วยคำว่า “Blockchain” และ “Smart Contract” ก็เป็นระบบอย่างหนึ่งที่อยู่ในบล็อกเชน โดยเทคโนโลยีนี้เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของบล็อกเชน ซึ่งถ้าขาดไป Blockchain คงไม่น่าสนใจเท่าที่ควร สำหรับบทความนี้จะขออธิบายว่า Smart Contract คืออะไร และมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับเรา
Smart Contract คืออะไร ?
Smart Contract หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัญญาอัจฉริยะ ถูกคิดค้นตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1994 โดยนาย Nick Szabo ผู้คิดค้น Bit Gold สกุลเงินเสมือน (Virtual Currency) ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นต้นแบบของ Bitcoin ซึ่ง Smat Contract เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่รันเป็นโค้ดใน Blockchain
สัญญานี้แตกต่างจากสัญญาทั่วไป คือ เราสามารถกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง และกระจายสำเนาไปถึงทุกคนในระบบให้ตรวจสอบกันเองแบบไม่มีตัวกลาง จุดแข็งของมัน คือ ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงสัญญานี้ได้ทั้งนั้น และจะต้องทำตามสัญญาโดยอัตโนมัติ เนื่องจากเป็นโค้ดที่มีการเขียนไว้แล้ว
การทำงานของ Smart Contract
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า Smart Contract ทำงานตามเงื่อนไขหรือสัญญาที่เขียนโค้ดเข้ารหัสไว้บนบล็อกเชน โดยคู่ค้าจะกำหนดเงื่อนไขสัญญาไว้ก่อน จากนั้นจะทำการเปลี่ยนเป็นโค้ด และกระจายข้อมูลไปยังโหนดคอมพิวเตอร์ของเครือข่าย เพื่อให้ทุกคนในระบบสามารถตรวจสอบได้ เมื่อเงื่อนไขถูกตรวจสอบแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงใด ๆ ได้อีก

ตัวอย่างการใช้ Smart Contract ในชีวิตประจำวัน
Smart Contract กับ การเงิน
ส่วนใหญ่แล้วนักพัฒนาจะใช้ Smart Contract เพื่อทำสัญญาในการทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยมีลักษณะเหมือนระบบการเงินเดิม แต่จะไม่มีตัวกลาง ทำให้เกิดแพลตฟอร์ม Decentralized Finance ที่ทำงานเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ เช่น Compound (แพลตฟอร์มสำหรับกู้ยืม) ใช้ Smart Contract ทำสัญญากู้ยืมคริปโตระหว่างผู้ใช้งานกับแพลตฟอร์ม
Smart Contract กับ อสังหาริมทรัพย์
ตั้งแต่ปี 2016 สาธารณรัฐจอร์เจีย ได้ประยุกต์เอาเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาพัฒนาการทำสัญญาโฉนดที่ดิน นอกจากนี้ มีโปรเจกต์ที่ให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยซื้อขายด้วยโทเค็น หรือ คริปโต และได้รับความสำเร็จมากมาย เช่น RealT
Smart Contract กับ ทางการแพทย์
โดยส่วนใหญ่ Smat Contract จะถูกใช้งานเกี่ยวกับการเงิน แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ในทางการแพทย์ก็มีการนำเทคโนโลยีตัวนี้เข้ามาเป็นตัวช่วยเก็บรักษาข้อมูลของผู้ป่วย และข้อมูลที่มีความลับ เช่น งานวิจัยและผลการรักษา เพื่อไม่ให้รั่วไหลออกจากองค์กร
ข้อดีและข้อเสียของ Smart Contract คืออะไร ?
ข้อดีของ Smart Contract
- ลดความเสี่ยงการทำงานผิดพลาดของบุคคลที่ 3 หรือตัวกลาง
- มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากทำงานบนระบบ Blockchain
- ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
- ทำงานและยืนยันตามเงื่อนไขที่ระบุไว้อัตโนมัติ
- สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ตลอดเวลา
ข้อเสียของ Smart Contract
- การที่สัญญาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้มีทั้งด้านดีและด้านเสีย หากโค้ดนั้นถูกเขียนขึ้นมาแล้วเกิดข้อผิดพลาด
- Smat Contract ยังไม่สามารถจัดการสัญญาที่มีข้อตกลงกำกวมได้
อย่างไรก็ตาม Smart Contract ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญ และเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกหลายอย่างในชีวิตประจำวัน และดูเหมือนการใช้งานจะแพร่หลายมากยิ่งขึ้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังคงเป็นการใช้งานเฉพาะกลุ่ม ซึ่งคนส่วนใหญ่ยังเข้าไม่ถึงระบบมากนัก คงต้องรอดูต่อไปว่า ในอนาคตนักพัฒนาจะสามารถปรับปรุงให้เทคโนโลยีเข้าถึงทุกคนได้หรือไม่
อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge
อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker
อ่านรีวิว Exchange อื่น ๆ ได้ที่: Crypto Exchanges
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News