Table of Contents
Table of Contents

กองทุน RMF ตัวไหนดี 2566 ใช้ลดหย่อนภาษีได้จริงไหม?

กองทุน RMF

กองทุน RMF เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะคุณสามารถเริ่มลงทุนเมื่อใดก็ได้ โดยกองทุนนี้จะครอบคลุมระยะเวลาในการลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งจุดเด่นของกองทุน RMF คือ มีสินทรัพย์ให้เลือกสรรหลากหลาย, ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ, สามารถซื้อต่อเนื่องปีเว้นปีได้, สามารถได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และที่สำคัญไปกว่านั้น คือ เมื่อคุณมีอายุครบ 55 ปี สามารถขายกองทุน RMF ทั้งก้อนได้เลยในครั้งเดียว!

กองทุน RMF จึงเหมาะกับผู้ที่มีความต้องการลงทุนในระยะยาวที่มีความต้องการเก็บเงินในช่วงเกษียณอายุ ในวันนี้ทีมงาน Gotradehere จะพาทุกท่านมารู้จักกับกองทุน RMF ให้มากยิ่งขึ้นว่า กองทุน RMF ตัวไหนดี 2566 เรียกได้ว่า ครบ จบ ในที่เดียว ฉะนั้นแล้ว คุณห้ามพลาด!

กองทุน RMF คืออะไร?

กองทุน RMF ถูกย่อมาจาก Retirement Mutual Fund คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยมีจุดประสงค์ในการเก็บออมเงินระยะยาว สำหรับการใช้จ่ายหลังเกษียณอายุการทำงาน ซึ่งรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนกองทุน RMF โดยการให้สิทธิลดหย่อนภาษีให้แก่นักลงทุน เพื่อใช้เป็นแรงจูงใจในการลงทุนกับกองทุนนี้

จุดเด่นของกองทุน RMF คือ มีสินทรัพย์ให้เลือกลงทุนหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น หุ้นไทย, หุ้นต่างประเทศ, ตราสารหนี้ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

เงื่อนไขการลงทุนกองทุน RMF 2566

เงื่อนไขการลงทุนกองทุน RMF ปี 2566 สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 เงื่อนไขหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

  • สามารถลงทุนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ตลอดทั้งปี และต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • สามารถลงทุนได้อย่างต่อเนื่องจนถึงอายุ 55 ปี และต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปีติดต่อกัน หรือสามารถซื้อปีเว้นปีก็ได้
  • หากมีการลงทุนรวมกับกองทุนอื่น ๆ เช่น กองทุนการออมแห่งชาติ, กบข. และประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นต้น โดยจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ข้อควรรู้! กองทุน RMF ทุกกองทุนไม่มีนโยบายการจ่ายปันผล

กองทุน RMF ลดหย่อนภาษีได้จริงไหม?

กองทุน RMF ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยสามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินที่ได้พึงประเมิน แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมเข้ากับกองทุนรวมอื่น ๆ แล้ว สำหรับการทบทวนสิทธิการซื้อและการถือครองกองทุน RMF สำหรับลดหย่อนภาษีจะต้องตรงตามเงื่อนไข ดังนี้

  • ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมเข้ากับกองทุนรวมอื่น ๆ
  • ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ แต่จะต้องซื้ออย่างต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี
  • ไม่จำเป็นต้องซื้อกับ บลจ. เดิมก็ได้
  • สามารถขายคืนได้นับตั้งแต่อายุ 55 ปีเป็นต้นไป โดยจะขายคืนทั้งก้อน (บำเหน็จ) หรือทยอยขายคืน (บำนาญ) ก็ได้
  • สามารถสับเปลี่ยนกองทุน RMF ในประเภทเดียวกันได้
  • การสับเปลี่ยนกองทุน RMF ไม่นับเป็นการซื้อกองทุนใหม่

กองทุน RMF แตกต่างจากกองทุน SSF อย่างไร?

กองทุน RMF จะแตกต่างจากกองทุน SSF โดยสามารถแบ่งข้อแตกต่างได้ตามตารางด้านล่างนี้

กองทุน RMF

  • ถือครองขั้นต่ำ 5 ปี นับจากวันซื้อ
  • ต้องซื้อต่อเนื่อง หรือปีเว้นปี
  • สามารถลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% 500,000 บาท

กองทุน SSF

  • ถือครองขั้นต่ำ 10 ปี นับจากวันซื้อ
  • ไม่ต้องซื้อต่อเนื่อง
  • สามารถลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% 200,000 บาท

กองทุน RMF ตัวไหนดี 2566

ทีมงาน Gotradehere ได้รวบรวม 7 กองทุน RMF ตัวไหนดี และได้ผลตอบแทนสูงในปี 2566 โดยมีกองทุน RMF ดังต่อไปนี้

  • KGHRMF
  • SCBRMJP
  • KFGBRANRMF
  • TMBEGRMF
  • KT-WEQ RMF
  • KKP INRMF
  • B-INNOTECHRMF

KGHRMF

กองทุน RMF

มูลค่าหน่วยลงทุน

  • 13.0989 บาท/หน่วย

ราคาขาย

  • 13.0990 บาท/หน่วย

ราคารับซื้อคืน

  • 13.0989 บาท/หน่วย

วันที่จดทะเบียนกองทุน

  • 11 สิงหาคม 2558

รายละเอียดทั่วไป :

KGHRMF หรือ กองทุนเปิดเค โกลบอล เฮลท์แคร์ หุ้นทุน เพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนที่มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมแบบผูกพันในระยะยาวสำหรับชีวิตหลังเกษียณอายุ และตอบสนองผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารของบริษัทที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับธุรกิจดูแลสุขภาพทั่วโลก โดยกองทุนมุ่งเน้นการลงทุนในหน่วยกานลงทุนต่างประเทศ คือ กองทุน JPMorgan Fund-Global Healthcare Fund

SCBRMJP

กองทุน RMF

มูลค่าหน่วยลงทุน

  • 16.7338 บาท/หน่วย

ราคาขาย

  • 16.7339 บาท/หน่วย

ราคารับซื้อคืน

  • 16.7338 บาท/หน่วย

วันที่จดทะเบียนกองทุน

  • 6 พฤศจิกายน 2558

รายละเอียดทั่วไป :

SCBRMJP หรือ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นญี่ปุ่น เพื่อการเลี้ยงชีพ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนของกองทุนให้ไปในทิศทางเดียวกันหรือใกล้เคียงกับดัชนีนิคเคอิ 225 โดยกองทุนนี้จะเน้นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศกองทุนเดียว คือ NEXT FUNDS Nikkei 225 Exchange Traded Fund เป็นกองทุนหลัก

KFGBRANRMF

กองทุน RMF

มูลค่าหน่วยลงทุน

  • 15.7262 บาท (NAV ต่อหน่วย)

ราคาขาย

  • 15.7263 บาท/หน่วย

ราคารับซื้อคืน

  • 15.7262 บาท/หน่วย

วันที่จดทะเบียนกองทุน

  • 23 พฤศจิกายน 2559

รายละเอียดทั่วไป :

KFGBRANRMF หรือ กรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้ เพื่อการเลี้ยงชีพ มีจุดประสงค์เพื่อนำเงินไปลงทุนในหน่วยการลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีชื่อว่า Morgan Stanley Investment Funds-Global Brands Fund (Class Z) เป็นกองทุนหลัก

TMBEGRMF

กองทุน RMF

มูลค่าหน่วยลงทุน

  • 15.4960 บาท/หน่วย

ราคาขาย

  • 15.5116 บาท/หน่วย

ราคารับซื้อคืน

  • 15.4805 บาท/หน่วย

วันที่จดทะเบียนกองทุน

  • 21 พฤษภาคม 2557

รายละเอียดทั่วไป :

TMBEGRMF หรือ ทหารไทย ยูโรเปี้ยน โกรท เพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นการลงทุนที่เน้นหน่วยกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองเดียว คือ กองทุน Wellington Strategic European Equity Fund ในหน่วยการลงทุน (Class) S (acc) EUR โดยมีจุดประสงค์เพื่อหาผลตอบแทนในระยะยาวจากการกระจายการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในกลุ่มประเทศแถบยุโรป

KT-WEQ RMF

560000006132401

มูลค่าหน่วยลงทุน

  • 13.1946 บาท/หน่วย

ราคาขาย

  • 13.1947 บาท (NAV ต่อหน่วย)

ราคารับซื้อคืน

  • 13.1946 บาท/หน่วย

วันที่จดทะเบียนกองทุน

  • 27 พฤศจิกายน 2557

รายละเอียดทั่วไป :

KT-WEQ RMF หรือ กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ อิควิตี้ เพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน AB Low Volatility Equity Portfolio Class I (USD) โดยมีจุดประสงค์เพื่อลงทุนในตราสารทุนที่มีความผันผวนต่ำ มีปัจจัยพื้นฐานและมีความเสี่ยงที่ปรับตัวในอนาคตในระดับต่ำ

KKP INRMF

กองทุน RMF

มูลค่าหน่วยลงทุน

  • 15.4379 บาท/หน่วย

ราคาขาย

  • 15.4380 บาท/หน่วย

ราคารับซื้อคืน

  • 15.4379 บาท/หน่วย

วันที่จดทะเบียนกองทุน

  • 8 ตุลาคม 2547

รายละเอียดทั่วไป :

KKP INRMF หรือ กองทุนเปิดเคเคพี อินคัม เพื่อการเลี้ยงชีพ โดยมุ่งเน้นการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ของบริษัทเอกชนที่มีปัจจัยพื้นฐานที่มีแนวโน้มในการเติบโตสูง ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุนโดยเฉพาะตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note)

B-INNOTECHRMF

กองทุน RMF

มูลค่าหน่วยลงทุน

  • 20.3251 บาท/หน่วย

ราคาขาย

  • 20.3252 บาท/หน่วย

ราคารับซื้อคืน

  • 20.3251 บาท/หน่วย

วันที่จดทะเบียนกองทุน

  • 13 ตุลาคม 2561

รายละเอียดทั่วไป :

B-INNOTECHRMF หรือ บัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยี เพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นการลงทุนในหน่วยลงทุนของ Fidelity Funds-Global Technology Fund ชนิดหน่วยลงทุน Class Y-ACC-USD เพียงกองทุนเดียว โดยจุดประสงค์ของกองทุนนี้ คือ เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของบริษัท

กองทุน RMF เหมาะกับใคร?

กองทุน RMF เหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการเก็บออมเงินในระยะยาวหลังเกษียณอายุในการทำงาน โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

  • ผู้ประกอบอาชีพอิสระ/ฟรีแลนซ์ ที่ไม่ได้มีสวัสดิการการออมเงินในวัยเกษียณมารองรับ
  • ลูกจ้าง/ข้าราชการที่มีสวัสดิการการออมมารองรับ แต่ต้องการเก็บออมเพิ่มเติม
  • ลูกจ้างที่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

คุณกำลังมองหาบทความเกี่ยวกับกองทุน อยู่หรือเปล่า?

กองทุน SPDR คือ อะไร? สายเทรดทองห้ามพลาด!

หุ้น หรือ กองทุน การลงทุนแบบไหนเหมาะสมกับคุณ

5 บัตรเครดิต เปลี่ยน “คะแนน” เป็น “กองทุน” ซื้อกองทุนผ่านบัตรเครดิต ลงทุนง่าย ไม่ต้องใช้เงิน!

สรุป

จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า กองทุน RMF ตัวไหนดี 2566 ที่ทางทีมงาน Gotradehere ได้รวบรวมมานั้น มีทั้งหมด 7 กองทุนที่น่าสนใจ โดยมี 7 กองทุน ดังต่อไปนี้

  • KGHRMF
  • SCBRMJP
  • KFGBRANRMF
  • TMBEGRMF
  • KT-WEQ RMF
  • KKP INRMF
  • B-INNOTECHRMF

อย่างไรก็ตาม กองทุน RMF ตัวไหนดี 2566 เป็นเพียงการให้คำแนะนำเกี่ยวกับกองทุนเท่านั้น เพราะทุกการลงทุนล้วนมีความเสี่ยงเสมอครับ ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการลงทุนให้ละเอียดและรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกองทุน RMF ที่คุณให้ความสนใจ ซึ่งคุณสามารถศึกษาข้อมูลได้จากหนังสือชี้ชวนของกองทุนนั้น ๆ หรือติดตามรายละเอียดจากบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทย


อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge

อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News

Table of Contents
TOP FOREX BROKERS
1
5/5
IUX Markets
IUX Markets
5/5
2
3/5
IC Markets
IC Markets-top-forex-brokers
IC Markets
4/5
3
4/5
FXGT.com
FXGT.com
4/5
4
3/5
Hantec Markets
Hantec Markets
3/5
5
4/5
Eightcap
Eightcap
3/5

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

– Advertisement –

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

FOLLOW US
บทความที่เกี่ยวข้อง

– Advertisement –