Table of Contents
Table of Contents

กลุ่ม BRICS คืออะไร: เมื่อโลกถึง “จุดเปลี่ยน” อำนาจสหรัฐกำลังสั่นคลอน

BRICS

ทำไม? อำนาจสูงสุดจึงตกไปอยู่ในมือของ “สหรัฐ” และ “สกุลเงินดอลลาร์”

.

.

นับเป็นเวลาอันยาวนานที่โลกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยดอลลาร์ถูกใช้เป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ รวมถึงสื่อกลางในการซื้อขายทั่วโลก ประเด็นเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สหรัฐฯ มีอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในนาม “ผู้เป็นเจ้าของสกุลเงิน” แต่ทุกสิ่งล้วนไม่เที่ยงธรรม การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่โลกเกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด

รู้หรือไม่? ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา เคยเกิดคำนายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของศูนย์กลางการค้าโลก ซึ่งอาจตกไปอยู่ในเงื้อมือของประเทศตลาดเกิดใหม่ และนั่นคือ “จีน” ทำให้จีนถูกจัดอยู่ในประเทศมหาอำนาจอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ จนเมื่อไม่นานมานี้ จีนได้ก้าวข้ามจากขั้วอำนาจเดิมสู่การเป็น “ขั้วอำนาจใหม่” พร้อมผลักดันให้ “สกุลเงินหยวน” และ “สกุลเงินสร้างใหม่” กลายเป็นที่ยอมรับในระดับสากล จากความร่วมมือของประเทศพันธมิตรที่เรารู้จักเขากันในนาม “BRICS”

. . . . . . . . . . . . . .

ทำความรู้จักกันกลุ่ม BRICS การรวมตัวของขั้วอำนาจใหม่ จากกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วที่กำลังผงาด เพื่อโค่นอำนาจสหรัฐฯ และสกุลเงินดอลลาร์ 🔥

ประเด็นสำคัญที่น่าจับตามองเกี่ยวกับกลุ่มประเทศ BRICS

*หมายเหตุ: บทความนี้เป็นเพียงการให้ความรู้ เพื่ออาจเป็นแนวทางในการปรับพอร์ตการลงทุนของคุณให้เท่าทันโลก

. . . . . . . . . . . . . .

ย้อนรอยประวัติ BRICS คืออะไร?

brics

BRICS คือ การรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (Emerging Market) ถูกก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2009 ซึ่ง BRICS ย่อมาจากตัวอักษรนำหน้าของประเทศสมาชิกที่ร่วมก่อตั้ง ได้แก่ บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India), จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa) โดยถูกบัญญัติขึ้นจาก จิม โอนีลล์ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจโลกจาก Goldman Sachs

*หมายเหตุ: แต่เดิมกลุ่ม BRICS มีสมาชิกเพียงแค่ 4 ประเภท ได้แก่ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย และจีน โดยแอฟริกาใต้ได้ขอเข้าร่วม BRICS อย่างเป็นทางการในปี 2010 จึงมีการเติม “S” เข้ามาต่อท้าย ซึ่งมาจาก South Africa

📍 กลุ่ม “BRICS” ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการย้ายอํานาจเศรษฐกิจโลกจากกลุ่มประเทศพัฒนา (G7) มาสู่กลุ่มประเทศกําลังพัฒนา ถือเป็นความท้าทายใหม่ที่น่าจับตามองมากที่สุด เพราะประเทศสมาชิก BRICS ล้วนแล้วแต่มีอำนาจในกำมือ และมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันถึง 1 ใน 4 ของโลก ที่สำคัญกลุ่ม BRICS ยังมี GDP ที่นำมารวมกันแล้วมากกว่ากลุ่ม G7

. . . . . . . . . . . . . .

BRICS วัตถุประสงค์หลัก และนโยบายสำคัญทางเศรษฐกิจ

วัตถุประสงค์ของการรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (BRICS) ยังไม่มีข้อบ่งชี้อย่างชัดเจน แต่มีสมมติฐานเกี่ยวกับวัตถุประสงค์หลักว่า BRICS ก่อตั้งขึ้นเพื่อลดการพึ่งพาดอลลาร์ และหลุดพ้นจากการครอบงำของอำนาจสหรัฐฯ โดยประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS จะมีข้อตกลงทางการค้าต่อกันและกัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจ พร้อมผลักดันการใช้สกุลเงินท้องถิ่นอย่างหยวน รวมถึงล่าสุดมีการสร้าง “สกุลเงินใหม่” หรือ “สกุลเงิน BRICS” (ยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ) โดยใช้ทองคำเป็นสินทรัพย์หนุนหลัง คาดว่าจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการในการประชุม BRICS Summit เดือน ส.ค. 2023 ที่แอฟริกาใต้

📍มีข้อมูลออกมาเกี่ยวกับการกว้านซื้อทองคำของพี่ใหญ่กลุ่ม BRICS อย่างรัสเซียและจีน เพื่อเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ในช่วงก่อนและหลังเกิดสงครามยูเครนในปริมาณที่สูงกว่าปกติ

. . . . . . . . . . . . . .

ประเทศสมาชิก BRICS มีกี่ประเทศ?

BRICS

ปัจจุบันมีเพียง 5 ประเทศเท่านั้นที่ได้ขึ้นว่า เป็นประเทศสมาชิก BRICS อย่างเป็นทางการ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า มีประเทศจำนวนมากกำลังให้ความสนใจ และต่อคิวเพื่อทำการเข้าร่วมกลุ่ม BRICS โดยทาง BRICS มีนโยบายขยายความร่วมมือไปยังประเทศต่าง ๆ อยู่แล้ว ซึ่งข้อมูลจาก Silkroadbriefing ได้กล่าวถึงตัวอย่างรายชื่อประเทศที่กำลังขอเข้าร่วมกลุ่ม BRICS มีดังนี้

  • ซาอุดีอาระเบีย
  • อาร์เจนตินา
  • อิหร่าน
  • ตุรกี
  • แอลจีเรีย
  • อียิปต์
  • อัฟกานิสถาน
  • อินโดนีเซีย
  • ไนจีเรีย
  • นิคารากัว
  • เซเนกัล
  • ไทย

📍หากประเทศทั้งหมดที่กล่าวมานั้นได้รับการยอมรับจาก BRICS จะทำให้กลุ่ม BRICS มี GDP รวมกันมากกว่าสหรัฐฯ ถึง 30%, มีจำนวนประชากรมากกว่า 50% ของประชากรโลก และมีพลังงานอยู่ในมือมากถึง 60% ของโลกเลยทีเดียว

. . . . . . . . . . . . . .

ความยิ่งใหญ่ของประเทศสมาชิก BRICS

ประเทศสมาชิก BRICSข้อมูลเบื้องต้น
รัสเซีย▪ รายใหญ่ในการส่งออกพลังงานของโลก
▪ มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นอันดับที่ 5 ของโลก
จีน▪ มหาอำนาจอันดับ 2 ของโลก
▪ มีทองคำเป็นอันดับที่ 6 ของโลก
▪ มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นอันดับที่ 1 ของโลก
▪ ขึ้นชื่อว่าเป็นโรงงานของโลก
บราซิล▪ มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ของโลก
▪ เด่นในด้านระบบเกษตรกรรม เหมืองแร่อุตสาหกรรม และภาคบริการ
▪ แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของโลก
อินเดีย▪ มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของโลก
▪ อินเดียมี GDP เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7% ต่อปี
แอฟริกาใต้▪ มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิด
▪ ถูกจัดอันดับจาก IMF ด้านการพัฒนาของระบบการเงิน

. . . . . . . . . . . . . .

การผงาดของ BRICS กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว

จากข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกนำเสนอออกมาสู่สาธารณชน จึงสามารถสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้ได้เป็น 4 ประเด็นหลัก โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • กลุ่ม BRICS กำลังตกเป็นเป้าสายตาจากประชาคมโลก
  • อำนาจของ “ทองคำสีดำ” ในเงื้อมือกลุ่ม BRICS
  • BRICS สร้างรากฐานอำนาจด้วย “ทองคำ”
  • การสร้าง “สกุลเงินใหม่” จาก BRICS

กลุ่ม BRICS กำลังตกเป็นเป้าสายตาจากประชาคมโลก

สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ผ่านมา และดูเหมือนจะรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขั้วอำนาจเก่าหรือชาติตะวันตกต้องออกมาประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย โดยเริ่มจากแบนการนำเข้าสินค้าจากรัสเซียทุกประเภท รวมถึงกีดกันการทำธุรกรรมทางการเงินกับประเทศอื่น ๆ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัสเซียต้องชะลอตัวลงเกือบครึ่งหนึ่ง แต่รัสเซียก็สามารถพลิกเกมได้อีกครั้ง โดยใช้จุดแข็งด้านพลังงาน ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน

รัสเซียทำการตอบโต้การกระทำของชาติตะวันด้วยการจับมือกับจีน และระงับการส่งออกพลังงานทั้งหมด โดยมีเงื่อนไขว่า ทุกประเทศที่ต้องการซื้อพลังงานจากรัสเซีย จำเป็นต้องใช้ “เงินรูเบิล” และ “เงินหยวน” ในการค้าเท่านั้น รวมถึงมอบสิทธิพิเศษแก่ประเทศที่ตกลงตามเงื่อนไขด้วยการ Sale 50% จากราคาตลาด การตัดสินใจของรัสเซียในครั้งนั้น ทำให้ค่าเงินรูเบิลแข็งค่ามากที่สุดในโลก และแตะระดับสูงสุดรอบ 7 ปี

แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันอย่างรุนแรง จนทำให้ทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อจนถึงในปัจจุบัน โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ต้องนำเข้าพลังงานในราคาที่สูงกว่าปกติ ประเด็นร้อนแรงเหล่านี้ทำให้คนเริ่มให้ความสนใจกับรัสเซียและค้นพบข้อมูลต่าง ๆ นอกจากนี้ นักลงทุนต่างกล่าวถึงกลุ่ม “BRICS” ที่นำโดยรัสเซียและจีน ซึ่งเป็น 2 ยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตพลังงานที่ทั่วโลกต้องการ

อำนาจของ “ทองคำสีดำ” ในเงื้อมือกลุ่ม BRICS

ในขณะที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะลอตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจต่าง ๆ แต่ราคาน้ำมันกลับสูงขึ้นไม่ยอมหยุด ด้วยดีลลับของยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตน้ำมันอย่างรัสเซียและซาอุจับมือกับกลุ่ม OPEC+ ลดกำลังผลิตน้ำมันลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อมัดรวมกันทั้งหมดแล้ว ปริมาณน้ำมันที่ถูกลดลงมีจำนวนมากถึง 5 ล้านบาร์เรลต่อวันเลยทีเดียว โดย OPEC+ ต้องการตรึงราคาน้ำมันให้อยู่ที่ระดับ $80 ต่อบาร์เรล ส่วนในด้านของรัสเซียและซาอุยังคงได้รับประโยชน์จากการหาประเทศพันธมิตรด้วยการลดราคาน้ำมันให้กับประเทศที่ยอมซื้อขายน้ำมันด้วยเงินหยวน

อย่างที่ทราบกันดีว่า น้ำมันเป็นที่ต้องการในทุกประเทศ และหากต้องนำเข้าในราคาที่สูงไปเรื่อย ๆ คงพยุงเศรษฐกิจไว้ไม่ไหวโดยเฉพาะประเทศเล็ก ๆ ทำให้มีหลายประเทศต้องยอมศิโรราบให้แก่รัสเซียและซาอุ เช่น ปากีสถานและศรีลังกา อีกทั้ง ประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างลาวก็หันไปนำเข้าน้ำมันกับจีนแล้วเช่นกัน

นอกจากนี้ ประเด็นที่น่าจับตามอง คือ ยูโรโซนจำเป็นต้องมีการนำเข้าน้ำมันจำนวนมาก ดังนั้น จึงได้รับผลกระทบจากการปรับลดกำลังผลิตน้ำมันไม่น้อย ส่งผลให้ประเทศส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกัน ประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS และประเทศที่เป็นพันธมิตรกับ BRICS กลับมีอัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างเห็นได้ชัด

BRICS สร้างรากฐานอำนาจด้วย “ทองคำ”

อย่างที่เราได้สอดแทรกเกี่ยวกับการซื้อทองคำของรัสเซียและจีนในปริมาณที่สูงกว่าปกติ ซึ่งในทางเศรษกิจ “ทองคำ คือ อาวุธสำคัญ” ที่จะเพิ่มอำนาจและความน่าเชื่อถือในเวทีโลก โดยตั้งแต่ปลายปี 2020 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางรัสเซียเก็บสะสมทองคำเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในรอบ 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงก่อนบุกยูเครนไม่กี่ปี

จากการเปิดเผยของสภาทองคำโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 65) พบว่า ธนาคารกลางทั่วโลกซื้อทองคำสุทธิถึง 399.3 ตัน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้น 4 เท่าจากปีก่อนหน้า และมีการเปิดเผยรายชื่อของธนาคารกลาง 3 แห่ง ที่ดำเนินการซื้อทองคำ ณ ตอนนั้น รวมเป็น 74.8 ตัน ส่วนทองคำอีก 300 ตัน ถูกส่งไปอยู่ในมือผู้ซื้อนิรนามรายหนึ่ง ทั้งนี้ มีข้อมูลสนับสนุนว่า ผู้ซื้อนิรนามอาจเป็นธนาคารกลางของประเทศจีน เนื่องจากพฤติกรรมการซื้อทองคำคล้ายกับจีนในอดีต, จีนมีการเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจำนวนมหาศาล และที่สำคัญจีนมีการนำเข้าทองคำจากรัสเซียสูงขึ้นกว่า 50 เท่าของปีก่อนหน้า

อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วธนาคารกลางส่วนใหญ่จะไม่เปิดเผยข้อมูลการเข้าซื้อทองคำ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาในตลาด แต่ปริมาณการซื้อทองคำในครั้งนี้ค่อนข้างสูง ผนวกกับเป็นช่วงที่รัสเซียและจีนต้องการสร้างรากฐานอำนาจให้กับกลุ่ม BRICS

การสร้าง “สกุลเงินใหม่” จาก BRICS

จากข้อมูลทั่วไป จุดประสงค์หลักของ BRICS มาจากความต้องการที่จะลดการพึ่งพาดอลลาร์ และสร้างความแข็งแกร่งให้กับการค้าสำหรับประเทศที่เป็นพันธมิตร โดยรัสเซียได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่า กลุ่ม BRICS กำลังสร้างสกุลเงินใหม่ และอาจเปิดตัวในการประชุมที่จะถึงนี้ (ส.ค. 2023) ซึ่งมีการวางรากฐานมาตั้งแต่ปี 2011

จนกระทั่งในปี 2015 กลุ่ม BRICS ได้จัดตั้ง “ธนาคารเพื่อพัฒนาแห่งใหม่ (New Development Bank ใช้อักษรย่อว่า NDB)” อย่างเป็นทางการ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการด้านการพัฒนาในประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS ซึ่งเหตุการณ์นี้ถือเป็นความท้าทายใหม่ของ World Bank และ IMF ที่คงต้องจับตาความเคลื่อนไหวของ BRICS มากขึ้น

ประเด็นนี้อาจสอดคล้องกับการที่รัสเซียและจีนพยายามเข้าซื้อทองคำในจำนวนที่มากกว่าปกติในหลาย ๆ ครั้ง เพื่อใช้เป็นสินทรัพย์หนุนหลังให้กับสกุลเงินใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมถึงสร้างความเสถียรภาพและเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS

. . . . . . . . . . . . . .

BRICS ความสัมพันธ์กับไทย

ประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS กับไทยมีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนานทั้งด้านของการค้าระหว่างประเทศ และความร่วมมือในกรอบทวิภาคีและพหุภาค โดยมีรายละเอียดดังนี้

กลุ่ม BRICS ความสัมพันธ์กับไทย: ด้านการค้าระหว่างประเทศ

ประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICSสินค้านำเข้าของไทยจาก BRICSสินค้าส่งออกของไทยจาก BRICS
รัสเซีย▪ ยากำจัดศัตรูพืช
▪ ปุ๋ย
▪ น้ำมันดิบ
▪ เหล็ก
▪ เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
▪ ยานยนต์และชิ้นส่วน
▪ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป
▪ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์
จีน▪ เคมีภัณฑ์
▪ เครื่องจักรไฟฟ้า
▪ เม็ดพลาสติก
▪ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ
▪ เคมีภัณฑ์
▪ ยางพารา
▪ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ
▪ ผลิตภัณฑ์ยาง
▪ ทุเรียน
▪ มันสำปะหลังแห้ง
▪ แป้งมันสำปะหลัง
บราซิล▪ โลหะและเศษโลหะ
▪ เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
▪ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช
▪ สินแร่โลหะอื่น ๆ
▪ เหล็ก
▪ ยางพารา
▪ เม็ดพลาสติก
▪ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
▪ ยานยนต์และชิ้นส่วน
▪ ด้ายและเส้นใย
อินเดีย▪ เคมีภัณฑ์
▪ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
▪ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช
▪ อัญมณีและเครื่องประดับ
▪ ยานยนต์และชิ้นส่วน
▪ ยางพารา
▪ เคมีภัณฑ์
▪ เม็ดพลาสติก
▪ อัญมณีและเครื่องประดับ
แอฟริกาใต้▪ อัญมณีและเครื่องประดับ
▪ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์
▪ เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
▪ สินแร่
▪ โลหะ
▪ เหล็ก
▪ ผลิตภัณฑ์ยาง
▪ ยานยนต์และชิ้นส่วน
▪ เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์
▪ อาหารทะเลแปรรูป
▪ ข้าว

*หมายเหตุ: อ้างอิงข้อมูลจาก Global Trade Atlas

กลุ่ม BRICS ความสัมพันธ์กับไทย: ด้านทวิภาคีและพหุภาคี

อย่างที่ทราบกันดีว่า ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ยื่นคำขอเข้าร่วมกลุ่ม BRICS และในปีที่ผ่านมา ไทยได้ร่วมประชุมเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือ BRICS Plus ซึ่งไทยยินดีที่จะสนับสนุนกลุ่ม BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา (EMDCs) อย่างเต็มที่

ประเด็นแรก ความสัมพันธ์ BRICS กับไทย อาจแน่นแฟ้นมากขึ้นผ่านการทำงานจากกลไก ACMECS อาเซียน ซึ่งเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีแห่งอนาคต พร้อมเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล คมนาคม และพลังงานข้ามพรมแดน

ประเด็นต่อมา ในประเทศสมาชิก BRICS หากพูดกันภาษาทั่วไปก็เรียกได้ว่า ไทยสนิทกับจีนที่สุด เนื่องจากทำการค้าขายกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้น ซึ่งหัวข้อทางด้านเศรษฐกิจที่ทั่วโลกกำลังพูดถึง และให้ความสำคัญมากที่สุดคงหนีไม่พ้นโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยไทยและจีนมีเจตนาร่วมกันที่จะรักษาสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ พร้อมลดปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำ เพื่ออนาคตของประเทศที่ยั่งยืน

และประเด็นสำคัญ ไทยเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาคมากขึ้น ซึ่งไทยได้แสดงความชื่นชมเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการจัดตั้งธนาคาร NDB ของกลุ่ม BRICS

อย่างไรก็ตาม ไทยแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดว่า ต้องการเข้าร่วมกับกลุ่ม BRICS เพื่อสนับสนุนนโยบายที่เอื้อต่อประเทศกำลังพัฒนา และปูทางในการขยายโอกาสทางด้านการค้าระหว่างประเทศใหม่ ๆ ในอนาคต ซึ่งไทยอาจต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น เนื่องจากประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS มีความขัดแย้งกับประเทศที่ไทยยังคงต้องรักษาความสัมพันธ์ให้ราบรื่นอย่างสหรัฐฯ นอกจากนี้ ณ วันที่เขียนบทความ ไทยได้มีการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ดังนั้น คงต้องรอดูกันต่อไปว่า เจตจำนงต่อความร่วมมือต่าง ๆ จะยังคงเหมือนเดิมอยู่หรือไม่?

. . . . . . . . . . . . . .

BRICS ข้อดีข้อเสีย คืออะไร?

“ข้อดีข้อเสีย BRICS” อาจเป็นการตั้งคำถามง่าย ๆ จากผู้ถาม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นหนึ่งในคำถามที่ดูจะสะกิดใจ และดึงให้ผู้ตอบต้องฉุกคิดเช่นกัน ในแง่มุมหนึ่งกลุ่ม BRICS คือ ต้นแบบของความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ และกล้าหาญที่จะก้าวออกจากกรอบ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ใหญ่กว่า ซึ่งเป็นการเดินหน้าที่เตรียมพร้อมมาเป็นอย่างดี เนื่องจากประเทศสมาชิก BRICS เป็นเหมือนจิ๊กซอว์ที่ต่อเข้าด้วยกันแล้วก่อให้เกิดความสมบูรณ์

โดยแต่ละประเทศมีจุดแข็งที่แตกต่างกันออกไปทั้งในด้านอำนาจ เงิน อัตราการเติบโต รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นเหมือนแหล่งทองคำที่ทั่วโลกต้องการ อีกทั้ง วัตถุประสงค์หลักของ BRICS คือ หลุดพ้นจากการครอบงำของดอลลาร์ และสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนาก้าวเข้ามามีบทบาทบนเวทีการค้าโลกมากขึ้น ซึ่งถือเป็นข้อดีของ BRICS และสร้างโอกาสให้นานาประเทศมากขึ้น

ในทางกลับกัน เมื่อขั้วอำนาจเก่าและใหม่ปะทะกันความขัดแย้งย่อมตามมา จากข่าวเศรษฐกิจในแง่มุมต่าง ๆ BRICS ค่อนข้างมีเล่ห์เหลี่ยมในการแข่งขันสูง และยังสามารถพลิกเกมได้ออกมาค่อนข้างดี แต่มหาอำนาจที่ครองบัลลังก์มาอย่างยาวนานมีหรือจะยอม จึงก่อให้เกิดการตอบโต้ที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งอาจมีบางการกระทำที่ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่อประเทศอื่น ๆ เช่น ราคาน้ำมันที่สูงอย่างต่อเนื่อง และก่อให้เกิดอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นตามมา รวมถึงการคว่ำบาตรต่าง ๆ ที่บีบให้นานาประเทศต้องเลือกข้าง

ดังนั้น หากถามถึงข้อดีคงสามารถหาคำตอบได้จากวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง แต่ถ้าถามถึงข้อเสียคงไม่มีคำตอบแน่ชัด เนื่องจากการตอบโต้ของแต่ละฝ่ายเป็นเหมือนการป้องกันตัว และคำตอบในคำถามนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และจำเป็นต้องใช้การกลั่นกรองอย่างมาก

. . . . . . . . . . . . . .

สรุป BRICS คือ สุดยอดแห่งความท้าทายของสหรัฐฯ

สืบเนื่องมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่กำลังร้อนระอุอยู่ในขณะนี้ ทำให้ BRICS กลับมาเป็นที่จับจ้องในสายตาสาธารณชนอีกครั้ง โดย BRICS คือ การรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีประเทศสมาชิกที่ค่อนข้างมีอำนาจต่อรองไม่แพ้กับสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ การเติบโตของเศรษฐกิจ เงิน และทองคำ จึงทำให้ BRICS ถูกมองว่า อาจกลายเป็นขั้วอำนาจใหม่ของโลก และบัลลังก์ของสหรัฐฯ กำลังสั่นคลอน

กลุ่ม BRICS มีสมาชิกประกอบไปด้วย บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India), จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa) ซึ่งมีนโยบายสำคัญที่ต้องการสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนามีบทบาทในเวทีการค้าโลกมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีวัตถุประสงค์หลัก คือ หลุดพ้นจากการอยู่ใต้อิทธิพลของเงินดอลลาร์ และส่งเสริมให้สกุลเงินใหม่ถูกใช้ในการค้าระหว่างประเทศ โดยในขณะนี้ คือ เงินหยวน แต่อีกไม่นาน BRICS มีแผนจะเปิดตัวสกุลเงินใหม่ที่ถูกวางรากฐานให้ผูกกับทองคำ รวมถึงการก่อตั้งธนาคารเพื่อพัฒนาแห่งใหม่ (NDB) สำหรับการปูรากฐานให้กับสกุลเงิน BRICS

อย่างไรก็ตาม โลกยังมีข้อถกเถียงและความเห็นต่างเกี่ยวกับการผงาดขึ้นของ BRICS ว่า อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรง ในทางกลับกัน มีหลายประเทศที่เห็นด้วยกับความตั้งใจของ BRICS ที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศอื่น ๆ มีโอกาสบนเวทีการค้าโลกมากขึ้น ซึ่งเราคงต้องติดตามกันต่อในอนาคตว่า มหาอำนจของโลกจะถูกเปลี่ยนมือหรือไม่? และนักลงทุนอย่างเราควรติดตามข่าวสาร และปรับพอร์ตการลงทุนให้ตามทันเทรนด์โลก เพื่อเพิ่ม Win Rate ให้สูงที่สุด

*หมายเหตุ: บทความนี้เป็นเพียงการให้ความรู้ และอาจเป็นแนวทางในการปรับพอร์ตการลงทุนให้รู้เท่าทันโลก

. . . . . . . . . . . . . .

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ BRICS คืออะไร?

กลุ่ม BRICS คืออะไร?

BRICS คือ การรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (Emerging Market) ได้แก่ บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India), จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa)

BRICS วัตถุประสงค์หลัก คืออะไร?

BRICS วัตถุประสงค์หลัก คือ หลุดพ้นจากอำนาจของสหรัฐฯ และสกุลเงินดอลลาร์ พร้อมส่งเสริมให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้ามามีบทบาทบนเวทีโลกมากขึ้น

BRICS ย่อมาจาก อะไร?

BRICS ย่อมาจากตัวอักษรแรกของประเทศสมาชิก ได้แก่ บราซิล (B), รัสเซีย (R), อินเดีย (I), จีน (C) และแอฟริกาใต้ (S)

BRICS ชื่อเต็ม มีไหม?

BRICS คือ ชื่อเต็มของการรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดย BRICS มาจากตัวอักษรตัวแรกของประเทศสมาชิก

BRICS ประเทศสมาชิก มีอะไรบ้าง?

ประเทศสมาชิก BRICS ที่ร่วมก่อตั้ง ได้แก่ บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India), จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa)

BRICS มีประเทศอะไรบ้าง?

บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India), จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa)

BRICS มีกี่ประเทศ?

สมาชิกกลุ่ม BRICS มีทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India), จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa)

BRICS ผลการดำเนินงาน เป็นอย่างไร?

ผลการดำเนินงาน BRICS ที่ผ่านมา ค่อนข้างเห็นได้ชัดว่า สามารถเข้ามามีบทบาทในการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ซึ่งทำการซื้อขายด้วยสกุลเงินหยวน

BRICS ไทย มีความสัมพันธ์อย่างไร?

ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ยื่นคำขอเข้าร่วมกลุ่ม BRICS และในปีที่ผ่านมาไทยได้ร่วมประชุมเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือ BRICS Plus ซึ่งไทยยินดีที่จะสนับสนุนกลุ่ม BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา (EMDCs) อย่างเต็มที่

BRICS ข้อดีข้อเสีย

โลกยังมีข้อถกเถียงและความเห็นต่างเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของ BRICS ว่า อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรง ในทางกลับกัน มีหลายประเทศที่เห็นด้วยกับความตั้งใจของ BRICS ที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศกำลังพัฒนามีโอกาสในการค้าโลกมากขึ้น

BRICS นโยบายสำคัญ คืออะไร?

– หลุดพ้นจากการใช้เงินดอลลาร์
– หลุดพ้นจากอำนาจของสหรัฐฯ
– ผลักดันสกุลเงินใหม่ให้มีบทบาทในเวทีการค้าโลก
– สนับสนุนและเปิดโอกาสให้ประเทศกำลังพัฒนา

BRICS ชื่อไทย คืออะไร?

BRICS ชื่อไทย อ่านว่า “บริกส์”

ประวัติ BRICS

BRICS คือ การรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (Emerging Market) ถูกก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2009 แต่เดิมกลุ่ม BRICS มีสมาชิกเพียงแค่ 4 ประเภท ได้แก่ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย และจีน โดยแอฟริกาใต้ได้ขอเข้าร่วม BRICS อย่างเป็นทางการในปี 2010 จึงมีการเติม “S” เข้ามาต่อท้าย ซึ่งมาจาก South Africa

BRICS สมาชิกกี่ประเทศ?

ปัจจุบัน BRICS มีสมาชิกทั้งหมด 5 ประเทศ และมีหลายประเทศที่ต้องการขอเข้าร่วมกลุ่ม

BRICS ก่อตั้งเมื่อไร?

BRICS ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2009

นโยบายทางเศรษฐกิจ BRICS คืออะไร?

สนับสนุนนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา และปูทางในการขยายโอกาสด้านการค้าระหว่างประเทศ

BRICS ที่ตั้ง อยู่ที่ไหน?

สำนักงานใหญ่ของธนาคารกลุ่ม BRICS ตั้งอยู่ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน

BRICS ก่อตั้งเมื่อไร?

BRICS ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2009

กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว นโยบาย คืออะไร?

BRICS คือ กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และมีนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา และปูทางในการขยายโอกาสด้านการค้าระหว่างประเทศ

BRICS สำนักงานใหญ่

สำนักงานใหญ่ของธนาคารกลุ่ม BRICS ตั้งอยู่ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน


อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge

อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News

Table of Contents
TOP FOREX BROKERS
1
5/5
IUX Markets
IUX Markets
5/5
2
3/5
IC Markets
IC Markets-top-forex-brokers
IC Markets
4/5
3
4/5
FXGT.com
FXGT.com
4/5
4
3/5
Hantec Markets
Hantec Markets
3/5
5
4/5
Eightcap
Eightcap
3/5

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

– Advertisement –

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

FOLLOW US
บทความที่เกี่ยวข้อง

– Advertisement –