สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่อาจเคยได้ยินคำว่า Slippage หรือเคยพบกับเหตุการณ์เปิดออเดอร์ในราคาหนึ่งแต่ได้ในราคาอีกราคาหนึ่งแทน ซึ่งเราจะเรียกเหตุการณ์นี้ว่า Slippage ในวันนี้ทีมงาน Gotradehere จะพาทุกคนไปรู้จักกับ Slippage คืออะไร ? เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เทรดเดอร์มือใหม่ควรรู้และหลีกเลี่ยงเพราะอาจทำให้คุณขาดทุนจากการเทรดได้ ติดตามกันได้ในบทความนี้เลยครับ
———————————— 🐣 ————————————
Slippage คือ อะไร?
Slippage คือ ค่าของความคลาดเคลื่อนระหว่างราคาในจุดที่ระบบนั้นเกิดสัญญาณการซื้อหรือขาย (Buy/Sell) กับราคาที่เราสามารถที่จะซื้อหรือขายได้จริง (Executed Price) โดย Slippage อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น สภาพคล่องของสินทรัพย์ที่ต่ำลง, สภาวะของตลาดที่เกิดความผิดปกติ หรือข่าวสารต่าง ๆ ระหว่างวัน ทำให้ตลาดมีความผันผวน เกิด Slippage ขึ้นโดยส่งผลให้ราคาเกิดความเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง โดย Slippage ในตลาด Forex แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
- Slippage แบบบวก คือ เมื่อราคาปิดออเดอร์จริงอยู่สูงหรือต่ำกว่าราคาที่คาดไว้ทำให้เทรดเดอร์ได้ราคาปิดออเดอร์ที่ดีขึ้น ส่งผลให้ได้รับผลตอบแทนมากขึ้น
- Slippage แบบลบ คือ เมื่อราคาปิดออเดอร์จริงอยู่สูงหรือต่ำกว่าราคาที่คาดไว้ทำให้เทรดเดอร์ได้ราคาปิดออเดอร์ที่แย่ลง ส่งผลให้ขาดทุน
Slippage เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า Slippage สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกตลาด แต่ในหัวข้อนี้เราจะขอหยิบยกตัวอย่างการเกิด Slippage ในตลาด Forex ซึ่ง Slippage มาจาก 2 สาเหตุหลัก ดังต่อไปนี้ :
Slippage เกิดจากการเปิดออเดอร์ในช่วงเวลาที่ตลาดมีความผันผวน
ตัวอย่าง Slippage เช่น ช่วงก่อนและหลังข่าวสำคัญออก รวมไปถึงการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศต่าง ๆ มักเกิด Slippage เพราะเป็นช่วงที่ตลาดมีความผันผวนมากที่สุด และมีการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิด Slippage และคุณอาจไม่ได้ราคาที่คุณคาดหวังไว้ โดยออเดอร์ที่ถูกส่งออกไปอาจดีเลย์จนราคาที่ต้องการไม่สามารถ Matched ได้อีก
Slippage เกิดจากการเปิดออเดอร์ในช่วงเวลาที่ตลาดใกล้เปิดและปิดทำการ
ตัวอย่าง Slippage เช่น ในช่วงเวลาที่ตลาดใกล้เปิดและปิดทำการเป็นเวลาที่ตลาดมีสภาพคล่องต่ำที่สุด (Low Market Liquidity) บ่งบอกถึงปริมาณการซื้อขายที่น้อย และจึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิด Slippage ได้เช่นกัน
ข้อดีและข้อเสียของ Slippage
ในต้นบทความ เราได้เกริ่นไปว่า Slippage นั้น สามารถทำให้ราคาที่คุณต้องการเปิดออเดอร์คลาดเคลื่อนไปที่จำนวนมากกว่า หรือน้อยกว่าที่คุณหวังได้ สำหรับหัวข้อนี้เราจะยกตัวอย่าง Slippage เพื่อให้คุณเข้าใจได้ง่ายขึ้นสำหรับข้อดีและข้อเสียของ Slippage
ข้อดีของ Slippage
- ช่วยให้เทรดเดอร์ใช้ต้นทุนในการลงทุนน้อยลงและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นจากความคลาดเคลื่อนของราคา
ยกตัวอย่าง Slippage เช่น เวลาที่เราทำการออกออเดอร์ BUY EUR/USD ที่ราคา 1.10000 และเจอ Slippage อาจทำให้ได้ราคา 1.09950 ซึ่งถือเป็นราคาที่ต่ำกว่า และหากเราปิดทำกำไรก็จะทำให้ได้กำไรที่มากขึ้นจากจุดที่ทำการวิเคราะห์ไว้
ข้อเสียของ Slippage
- ทำให้เทรดเดอร์ใช้ต้นทุนในการลงทุนมากขึ้นและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่น้อยลงจากความคลาดเคลื่อนของราคา
ยกตัวอย่าง Slippage เช่น เวลาที่เราทำการออกออเดอร์ BUY EUR/USD ที่จุด 1.10000 และเจอ Slippage อาจทำให้ได้ราคา 1.10050 ซึ่งถือเป็นราคาที่สูง และหากเราปิดทำกำไรก็จะทำให้ได้กำไรที่น้อยลงจากจุดที่ทำการวิเคราะห์ไว้
ผลกระทบจาก Slippage ที่ควรรู้
สำหรับเทรดเดอร์ที่อาจได้รับผลกระทบจาก Slippage มากที่สุด คือ เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์การเทรดแบบ Day Trade เนื่องจากการเทรดประเภทจำเป็นต้องอาศัยความรวดเร็วในการวิเคราะห์เพื่อทำกำไร ซึ่งบางครั้งคุณอาจทำการวิเคราะห์มาเรียบร้อยแล้วว่า ควรเปิดออเดอร์ที่จุดใด แต่เมื่อ Slippage เกิดขึ้น อาจทำให้คุณไม่ได้ราคาในจุดที่คุณวิเคราะห์ไว้
วิธีหลีกเลี่ยง Slippage ในการเทรด Forex
1. หลีกเลี่ยงการเทรดในช่วงที่มีเหตุการณ์สำคัญเพื่อลดการเกิด Slippage
เทรดเดอร์อาจจะพิจารณาหลีกเลี่ยงการเทรดในช่วงที่มีข่าวสำคัญทางการเมืองหรือการเงิน เช่น ข่าว Non-Farm, ข่าว FOMC หรือข่าวการปรับเพิ่ม-ลดอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น เนื่องจากข่าวเหล่านี้มีผลทำให้เกิดความผันผวนของตลาด Forex เป็นอย่างมาก ส่งผลให้มีโอกาสเกิด Slippage ในช่วงนี้ได้ง่าย ซึ่งเทรดเดอร์สามารถติดตามข่าวหรือเหตุการณ์สำคัญได้ที่เว็บไซต์ทางการเงินหรือ Forex Factory ครับ
2. เพื่อลดการเกิด Slippage ควรใช้เครื่องมืออื่น ๆ เข้ามาช่วย
เทรดเดอร์สามารถใช้คำสั่งการซื้อขายด้วย Pending Order เข้ามาช่วยในการตั้งราคาเปิดออเดอร์ เนื่องจากคำสั่งประเภท Pending Order จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถกำหนดราคาที่ต้องการเปิดออเดอร์ได้อย่างแม่นยำและลดความคลาดเคลื่อนของราคาได้มากขึ้น กล่าวคือ ถ้าราคายังไม่เคลื่อนถึงจุดที่เทรดเดอร์กำหนดไว้ในคำสั่งก็จะไม่สามารถเปิดออเดอร์ได้ ซึ่งคำสั่ง Pending Order ที่นิยมใช้เพื่อลดความเสี่ยงจาก Slippage คือ Limit Order ครับ
3. เช็ก Internet และทำการเชื่อมต่อกับเครือข่าย Internet ก่อนเริ่มเทรดให้ดีเพื่อลดการเกิด Slippage
ความเร็วของ Internet มีผลทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของราคาได้เช่นกัน เนื่องจากตลาด Forex มีความผันผวนสูงทำให้ราคาของคู่สกุลเงินสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกวินาที หาก Internet เกิดล่าช้าอาจทำให้ข้อมูลการส่งออเดอร์ของเทรดเดอร์กับโบรกเกอร์เกิดการคลาดเคลื่อนได้เช่นกัน แนะนำให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบใช้สายเนื่องจากมีความเสถียรมากกว่าแบบไร้สาย (เช่น Wifi) เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนของราคาจากสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ล่าช้าครับ
4. เลือกใช้โบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือ และมีใบอนุญาต เพื่อลดโอกาสในการเกิด Slippage
การเกิด Slippage ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่หากเทรดเดอร์พบการเกิด Slippage ที่มากกว่าปกติหรือเกิดขึ้นบ่อยครั้งอาจจะต้องพิจารณาว่าโบรกเกอร์ที่เทรดด้วยมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ครับ
———————————— 🐣 ————————————
🔥 โบรกเกอร์แนะนำจากทีมงาน Gotradehere ที่ช่วยลดการเกิดปัญหา Slippage 🔥
ฝากขั้นต่ำ : $10
Leverage สูงสุด : 1:3000
- Free Swap
- Free Bonus
ฝากขั้นต่ำ : $200
Leverage สูงสุด : 1:1000
- Free Swap
- Free Bonus
ฝากขั้นต่ำ : $5
Leverage สูงสุด : 1:1000
- Free Swap (จำกัดวัน)
- Free Bonus
———————————— 🐣 ————————————
🔎 บทความที่เกี่ยวข้องกับ Slippage
Take Profit (TP) คือ อะไร? Stop Loss (SL) คือ อะไร? และ วิธีตั้งค่า TP และ SL
7 แอพพลิเคชันยอดนิยม เทรดหุ้น แอพไหนดี? สำหรับคนไทย ปี 2024
Forex Rebate หรือ Cashback คือ อะไร? และโบรกเกอร์ไหนมี Cashback บ้าง?
เทรดหุ้น VS เทรด Forex เทรดแบบไหนเหมาะกับเทรดเดอร์มากกว่ากัน ?
———————————— 🐣 ————————————
สรุปเกี่ยวกับ Slippage
Slippage คือ ความคลาดเคลื่อนของราคาเมื่อเราทำการเปิดออเดอร์ ซึ่ง Slippage เป็นได้ทั้งผลดีและผลเสียต่อเทรดเดอร์ แต่ยังเป็นสิ่งที่นักลงทุนหลายคนอาจมองข้าม โดยคุณสามารถเห็นได้ชัดเจนเลยว่า การเกิด Slippage นั้น ความแตกต่างเพียงน้อยนิดระหว่างราคาไม่กี่จุดอาจทำให้ผลรวมของกำไรเราเป็นบวกหรือลบได้ ดังนั้น นักลงทุนจึงควรติดตามข่าวสารเกี่ยวกับคู่สกุลเงินที่คุณเทรดอย่างสม่ำเสมอนะครับเพื่อป้องกันการเกิด Slippage
อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge
อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News