หุ้นกู้ผลตอบแทนดีเลือกยังไง? เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ประชาชนทั่วไปหรือนักลงทุนตั้งคำถามอยู่เสมอ เพราะจุดมุ่งหมายสูงสุดของการลงทุนในหุ้นกู้คือผลตอบแทนที่ดีอย่าง “อัตราดอกเบี้ย” และนำเงินเย็นที่มีมาใช้ในการลงทุนระยะยาว ดังนั้นแล้วทีมงาน Gotradehere ขอแนะนำ 5 เทคนิคเลือกหุ้นกู้ผลตอบแทนดี ที่จะช่วยให้นักลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุนหุ้นกู้ผลตอบแทนดีครับ
หุ้นกู้คืออะไร ?
หุ้นกู้ (Corporate Bond) คือ สินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทภาคเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์ในการออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนสำหรับใช้ในกิจกรรมหรือแผนการดำเนินงานของบริษัท และผลตอบแทนที่ผู้เป็นเจ้าของหุ้นกู้จะได้รับคือ “ดอกเบี้ย” ครับ
⛔️ สิ่งที่ทุกคนต้องเข้าใจก่อนคือ “หุ้นกู้ ≠ หุ้น” เนื่องจากผู้ถือหุ้นกู้จะมีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” และบริษัทผู้ออกหุ้นกู้มีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” แต่กลับกันในกรณีของหุ้น คือ ผู้ถือหุ้นจะมีสถานะเป็น “เจ้าของบริษัท” ซึ่งสถานะของผู้ถือสินทรัพย์ทั้งสองมีผลกระทบกับการลงทุนในอนาคตแน่นอนหากบริษัทเกิดปัญหาหรือมีความเสี่ยงในการดำเนินกิจการครับ
ทำไมต้องเลือกหุ้นกู้ผลตอบแทนดี ?
เนื่องจากทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงแม้แต่การลงทุนในสินทรัพย์อย่างหุ้นกู้ เนื่องจากหุ้นกู้เป็นสินทรัพย์ที่ต้องลงทุนในระยะยาวและจำเป็นที่จะต้องใช้ต้นทุนในการลงทุนที่ค่อนข้างสูงเนื่องจากมีจำนวนขั้นต่ำในการซื้อหุ้นกู้และจำนวนหุ้นกู้ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปซื้อมีจำนวนที่น้อย ส่งผลให้การเลือกหุ้นกู้มีผลต่อผลตอบแทนในอนาคต ดังนั้นแล้วหากนักลงทุนสามารถเลือกหุ้นกู้ผลตอบแทนดีได้ตั้งแต่ครั้งแรกย่อมส่งผลดีกับการลงทุนในระยะยาวครับ
ความเสี่ยงจากการเลือกหุ้นกู้ที่ไม่รอบคอบ
- หากเลือกหุ้นกู้ที่ได้รับผลตอบแทนที่ไม่สูง อาจส่งผลให้การลงทุนในระยะยาวได้รับผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับเวลาที่เสียไปครับ
- จะต้องศึกษาข้อมูลของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ให้ละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง เนื่องจากหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูงย่อมมีความเสี่ยงจากตัวบริษัทเองเช่นกัน นักลงทุนต้องไม่ลืมที่จะเช็ก Credit Rating ทุกครั้งเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ครับ
- เนื่องจากหุ้นกู้จำเป็นต้องใช้ต้นทุนในการลงทุนสูง ตัวนักลงทุนเองจะต้องมั่นใจว่ามีเงินเย็นในครอบครองมากเพียงพอหรือไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนจำนวนมากในอนาคต เนื่องจากหุ้นกู้นั้นมีสภาพคล่องในการซื้อ-ขายในตลาดรองต่ำ หากขายได้ก็อาจได้รับผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่าซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการลงทุนครับ
เทคนิค 5 เลือกหุ้นกู้ผลตอบแทนดี
วิธีที่ 1 : เลือกหุ้นกู้ผลตอบแทนดีต้องไม่ลืมตรวจสอบข้อมูลบริษัท
ก่อนเลือกหุ้นกู้ผลตอบแทนดีทุกครั้ง นักลงทุนต้องไม่ลืมที่จะตรวจสอบข้อมูลบริษัทที่จะเลือกซื้อหุ้นกู้ เพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือและแนวโน้มธุรกิจในอนาคต เนื่องจากเงินที่บริษัทนำมาจ่ายคืนแก่นักลงทุนในแต่ละงวดมาจากรายได้ของบริษัท ผลประกอบการ และกำไรสุทธิ ดังนั้นแล้วหากเลือกหุ้นกู้ผลตอบแทนดีจากบริษัทที่มีความมั่นคง ผลประกอบการดีหรือมีกำไรสม่ำเสมอ ย่อมเป็นก้าวแรกของการลงทุนที่ดีครับ
ซึ่งนักลงทุนสามารถตรวจสอบข้อมูลบริษัทได้ที่ : เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ครับ
วิธีที่ 2 : ตรวจสอบ Credit Rating ควบคู่ไปกับหุ้นกู้ผลตอบแทนดีทุกครั้ง
Credit Rating หรืออันดับความน่าเชื่อถือ คือ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหนี้เพื่อประเมินจากผลการดำเนินงานและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อบริษัท หาก Credit Rating สูงความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้จากหุ้นกู้ก็ยิ่งต่ำครับ
ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัทจัดอันดับ Cradit Rating 2 แห่ง คือ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด และ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ดังนั้นแล้วนักลงทุนอย่าลืมตรวจสอบอันดับความน่าเชื่อถือ Credit Rating ทุกครั้งเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของหุ้นกู้ผลตอบแทนดี โดยอันดับ Cradit Rating ที่แนะนำจะอยู่ในอันดับ BBB- ไปจนถึง AAA
วิธีที่ 3 : ตรวจสอบข้อมูลงบการเงินประเมินความสามารถของบริษัท
หุ้นกู้ผลตอบแทนดีต้องมาคู่กับบริษัทที่มีความสามารถและน่าเชื่อถือ ซึ่งข้อมูลงบการเงินของบริษัทสามารถบ่งบอกถึงประสิทธิภาพและความสามารถในการดำเนินกิจการของบริษัทได้ครับ ซึ่งตัวช่วยที่ทำให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลงบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ “อัตราส่วนทางการเงิน”
อัตราส่วนทางการเงิน หมายถึง ตัวเลขจากการนำเอาข้อมูลในงบการเงินมาหาอัตราส่วนต่าง ๆ เพื่อนำมาวัดประสิทธิภาพทางการเงินของบริษัทนั้น ๆ ซึ่งสามารถช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์และประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทได้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
- อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current ratio)
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน หมายถึง อัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งอัตราส่วนนี้จะบ่งบอกถึงสภาพคล่องในการชำระหนี้สินระยะสั้นของบริษัท หากอัตราส่วนมีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่าหนี้สินหมุนเวียนมีปริมาณที่มากกว่าสินทรัพย์ ซึ่งอาจส่งผลกับการชำระหนี้สินในอนาคตครับ
- อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity ratio : D/E)
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หมายถึง อัตราส่วนของโครงสร้างเงินทุนที่มาจากกู้ยืม โดยคิดจากหนี้สินรวมและส่วนของผู้ถือหุ้น หากตัวเลขอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่ามีโอกาสที่กิจการจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ครบหรือได้ตรงตามที่กำหนด เนื่องจากมีจำนวนหนี้สินที่สูงครับ
- อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio)
อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย หมายถึง อัตราส่วนวัดความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ของบริษัท ซึ่งตัวเลขสูงย่อมหมายถึงบริษัทมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยที่สูงและตรงเวลาครับ
วิธีที่ 4 : เช็กประเภทหุ้นกู้ผลตอบแทนดีก่อนซื้อทุกครั้ง
ความเสี่ยง คือ สิ่งที่นักลงทุนทุกคนอยากหลีกเลี่ยง ซึ่งหุ้นกู้แต่ละประเภทย่อมมีความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นนักลงทุนควรเช็กประเภทของหุ้นกู้เสมอก่อนตัดสินลงทุนทุกครั้ง โดยหุ้นกู้มีทั้งหมด 5 ประเภทดังนี้
ประเภทหุ้นกู้ | ข้อควรระวังเกี่ยวกับหุ้นกู้ประเภทต่าง ๆ |
---|---|
หุ้นกู้ด้อยสิทธิ | ผู้ถือมีสิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้รายอื่น |
หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ | ผู้ถือมีสิทธิเท่ากับเจ้าหนี้รายอื่น และมากกว่าผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ |
หุ้นกู้แปลงสภาพ | หุ้นกู้จะเปลี่ยนเป็นหุ้นสามัญทันทีหากบริษัทออกหุ้นสามัญในจำนวนที่เท่ากับหุ้นกู้ที่ถือ |
หุ้นกู้มีประกัน | หุ้นกู้ที่มีสินทรัพย์วางประกันในการออก ผู้ถือหุ้นกู้จะมีสิทธิในสินทรัพย์มากกว่าเจ้าหนี้สามัญหากบริษัทล้มละลาย |
หุ้นกู้ไม่มีประกัน | หุ้นกู้ที่ไม่มีสินทรัพย์วางประกันในการออก ผู้ถือหุ้นกู้ต้องทำการแบ่งสินทรัพย์กับเจ้าหนี้รายอื่นตามสิทธิและสัดส่วนที่ถือหากบริษัทล้มละลาย |
วิธีที่ 5 : พิจารณาอายุหุ้นกู้ผลตอบแทนดี ระยะสั้น/ระยะยาว แบบไหนคุ้มกว่ากัน
เนื่องจากนักลงทุนจำเป็นจะต้องนำเงินต้นทุนไปใช้สำหรับลงทุนในหุ้นกู้และจะต้องรอให้ครบกำหนดวันไถ่ถอนเพื่อรับเงินต้นคืนทั้งหมด ทำให้นักลงทุนจำเป็นจะต้องวิเคราะห์และวางแผนการลงทุนในอนาคตให้ดีเพราะเงินต้นที่ใช้สำหรับซื้อหุ้นกู้นั้นจะไม่สามารถไถ่ถอนได้ก่อนครบกำหนด หากนักลงทุนจำเป็นจะต้องใช้เงินจำนวนมากในอนาคตก็จำเป็นที่จะต้องขายหุ้นกู้ในตลาดรองเพื่อนำเงินดังกล่าวไปใช้แทน โดยมีความเสี่ยงที่ตามมาคือ สภาพคล่องในการซื้อขายต่ำหรืออัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่งผลให้ราคาหุ้นกู้ในมือปรับตัวต่ำลง ดังนั้นแล้วการคำนึงถึงระยะเวลาในการลงทุนหุ้นกู้ผลตอบแทนดีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญครับ
✨ สุดท้ายนี้เทคนิคทั้ง 5 ข้อนี้เป็นเพียงตัวช่วยให้นักลงทุนหรือประชาชนทั่วไปสามารถเลือกหุ้นกู้ผลตอบแทนดีได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ทีมงาน Gotradehere หวังเป็นอย่างยิ่งว่านักลงทุนทุกท่านจะศึกษาหรือวิเคราะห์ปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนการลงทุนของทุกท่านให้มีประสิทธิภาพ กระจายความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนครับ ✨
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับหุ้นกู้ผลตอบแทนดี
วิธีเลือกหุ้นกู้ผลตอบแทนดี ต้องดูอะไรบ้าง ?
- วิธีที่ 1 : เลือกหุ้นกู้ผลตอบแทนดีต้องไม่ลืมตรวจสอบข้อมูลบริษัท
- วิธีที่ 2 : ตรวจสอบ Credit Rating ควบคู่ไปกับหุ้นกู้ผลตอบแทนดีทุกครั้ง
- วิธีที่ 3 : ตรวจสอบข้อมูลงบการเงินประเมินความสามารถของบริษัท
- วิธีที่ 4 : เช็กประเภทหุ้นกู้ผลตอบแทนดีก่อนซื้อทุกครั้ง
- วิธีที่ 5 : พิจารณาอายุหุ้นกู้ผลตอบแทนดี ระยะสั้น/ระยะยาว แบบไหนคุ้มกว่ากัน
หุ้นกู้ ซื้อที่ไหน
หุ้นกู้สามารถซื้อได้ 2 ช่องทางหลักคือ ผ่านทางธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ซึ่งหุ้นกู้ของแต่ละบริษัทจะมีช่องทางการซื้อแตกต่างกันออกไป โดยนักลงทุนจะต้องตรวจสอบผ่าน ThaiBMA และ กลต.
ซื้อหุ้นกู้ตัวไหนดี
นักลงทุนอาจเลือกซื้อหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนดีและมี Credit Rating ที่สูง ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าหุ้นกู้ตัวไหนดีหรือน่าซื้อ แต่อย่างไรก็ตามนักลงทุนจะต้องศึกษาข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจในการซื้อหุ้นกู้ครับ
สรุปเกี่ยวกับหุ้นกู้ผลตอบแทนดี
เทคนิคการเลือกหุ้นกู้ผลตอบแทนดีถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงหุ้นกู้ที่มีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือในการลงทุนได้เป็นอย่างดี แต่นักลงทุนเองจะต้องไม่ลืมที่จะศึกษาปัจจัยภายนอกเพิ่มเติมประกอบการตัดสินใจในการซื้อหุ้นกู้ เช่น อัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน หรือสภาพคล่องของตลาดซื้อขายหุ้นกู้ เพื่อให้การลงทุนมีประสิทธิภาพ เพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทน และลดความเสี่ยงจากการลงทุนให้ได้มากที่สุด สุดท้ายนี้ทีมงาน Gotradehere หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยให้นักลงทุนสามารถเลือกหุ้นกู้ผลตอบแทนดีได้และวางแผนการลงทุนในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge
อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News