Table of Contents
Table of Contents

ทฤษฎี Elliott Wave คือ อะไร? ตัวช่วยเพิ่มโอกาสทำกำไรจากการเทรดได้กว่า 90%

Elliott Wave

สำหรับนักลงทุนสายเทคนิค (Technical Analysis) ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้อินดิเคเตอร์เข้ามา เพื่อช่วยให้การเทรดมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น แต่รู้หรือไม่? ว่า อินดิเคเตอร์เหล่านั้นล้วนสร้างมาจากพื้นฐาน หรือวัฏจักรของตลาด โดยธรรมชาติของราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ จะมีการขึ้นและลงจนกลายเป็น “คลื่นวัฏจักร” ซึ่งจะมีอยู่ทฤษฎีหนึ่งที่นำพฤติกรรมของราคามาวิเคราะห์ และสะท้อนออกมาในรูปแบบกฎตายตัว หรือที่เรารู้จักกันในนามของ “ทฤษฎี Elliott Wave” (อ่านว่า เอลเลียตเวฟ)

ทฤษฎี Elliott Wave ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจ และสามารถแปลความหมายของคลื่นต่าง ๆ ที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ ซึ่งหากคุณสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของวัฏจักรคลื่นได้ Elliott Wave จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้คุณกว่า 90% และที่สำคัญ Elliott Wave สามารถใช้ได้กับทุกสินทรัพย์ และทุกสภาวะตลาดโดยไม่มีข้อจำกัด

สำหรับบทความนี้ Gotradehere จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ ทฤษฎี Elliott Wave คือ อะไร? มีหลักการอย่างไร? และ Elliott Wave ใช้ได้จริงไหม พร้อมยกตัวอย่างรูปแบบของคลื่นต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยครั้งในการเทรด

  • ความเป็นมาของ ทฤษฎี Elliott Wave
  • Elliott Wave คือ อะไร ใช้ได้จริงไหม ?
  • ข้อดีของ Elliott Wave ที่ไม่ควรพลาด
  • ส่วนประกอบของ Elliott Wave
  • การดูแนวโน้มและกฎการนับคลื่นของ Elliott Wave
  • Wave Extensions คืออะไร ?
  • รูปแบบของ Elliott Wave : Motion Wave
  • รูปแบบของ Elliott Wave : Correction Wave
  • การใช้ Elliott Wave อ่านอารมณ์ของนักลงทุน (จิตวิทยา)
  • การใช้ Elliott Wave คู่กับอินดิเคเตอร์
  • ข้อจำกัดของ Elliott Wave คือ อะไร ?
  • สรุป “Elliott Wave”

——————————🐣——————————-

ความเป็นมาของ ทฤษฎี Elliott Wave

Elliott Wave
Source: Martinrio

Elliott Wave กล่าวว่า “วงจรของตลาดจะเกิดขึ้นซ้ำไปมาจากอารมณ์ของนักลงทุน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ถูกแสดงออกมาเป็นกราฟราคา”

Elliott Wave เป็นหนึ่งในทฤษฎียอดนิยม และถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากหากสามารถทำความเข้าใจได้แล้ว ทฤษฎี Elliott Wave จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการเทรดเป็นอย่างมาก โดยในปี 1930 ทฤษฎี Elliott Wave ถือกำเนิดขึ้นมาโดย Ralph Nelson Elliott นักบัญชีชาวอเมริกัน ซึ่งมีความเชื่อว่า Elliott Wave ถูกต่อยอดมาจาก Dow Theory ที่หลายคนอาจเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างแล้ว

Dow Theory คืออะไร ?

Dow Theory คือ ทฤษฎีที่มีหลักการคล้ายคลึงกับ Elliott Wave โดยเปรียบเทียบการขึ้นลงของราคาสินทรัพย์ ซึ่งหากราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) ระยะทางที่ราคาวิ่งขึ้นจะยาวกว่าระยะทางที่ราคาตกลง ในทางกลับกัน หากราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง (Downtrend) ระยะทางที่ราคาตกลงจะยาวกว่าระยะทางที่ราคาวิ่งขึ้น เปรียบเสมือนคลื่นในช่วงน้ำขึ้นและน้ำลง

Elliott Wave อาจถูกต่อยอดมาจาก Dow Theory

ด้วยหลักการเหล่านี้ ทำให้คนส่วนใหญ่เชื่อว่า ทฤษฎี Elliott Wave ถูกต่อยอดมาจากทฤษฎี Dow แต่ Elliott Wave จะอธิบายเกี่ยวกับการขึ้นลงของราคาสินทรัพย์ ที่มาจากพฤติกรรมการซื้อขายของนักลงทุนส่วนใหญ่ ซึ่งจะใช้จิตวิทยามากกว่าทฤษฎี Dow

Elliott Wave คือ อะไร ใช้ได้จริงไหม ?

Elliott Wave คือ การวิเคราะห์ทางเทคนิคของรูปแบบราคาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของความเชื่อมั่น และจิตวิทยาของนักลงทุน ซึ่งอธิบายถึงธรรมชาติหรือวัฏจักรการขึ้นลงของราคาสินทรัพย์ โดยเกิดจากพฤติกรรมและอารมณ์ของนักลงทุนส่วนใหญ่ จนทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาในลักษณะ “คลื่น” จากนั้นเมื่อราคาเรียงตัวกันจึงเกิดแนวโน้ม (Trend)

Ralph Nelson Elliott ผู้คิดค้นทฤษฎี Elliott Wave สังเกตว่า ราคาของสินทรัพย์ส่วนใหญ่นั้นเคลื่อนไหวแบบคลื่น ซึ่งเป็นหลักการในธรรมชาติ และเหมือนกันทุกสินทรัพย์ เนื่องจากคลื่นเกิดจากอารมณ์ของนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาด ทำให้ Elliott Wave สามารถใช้ได้กับทุกสินทรัพย์ และทุกสภาวะตลาด ซึ่งหากนักลงทุนสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของการขึ้นลงของราคาได้ การเทรดก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

  • การเคลื่อนไปมาของอารมณ์จะทำให้เกิดคลื่น
  • คลื่นเกิดขึ้นได้ทุกช่วงระดับของกรอบเวลา
  • การเคลื่อนไหวของคลื่นจะสลับขึ้นลงไปมา

ข้อดีของ Elliott Wave ที่ไม่ควรพลาด

  • Elliott Wave สื่อถึงอารมณ์ของนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาด
  • Elliott Wave ให้ผลลัพธ์ที่ดีในการเทรดระยะยาว
  • Elliott Wave เพิ่มโอกาสในการทำไรได้สูง เนื่องจากหลักการถูกพัฒนามาจากธรรมชาติและพฤติกรรมของราคา
  • Elliott Wave สามารถใช้ได้กับทุกสินทรัพย์ และทุกสภาวะตลาด
  • Elliott Wave สามารถคาดการณ์แนวโน้มราคาได้ค่อนข้างดี

ส่วนประกอบของ Elliott Wave

หากคุณต้องการเข้าใจทฤษฎี Elliott Wave จำเป็นต้องเข้าใจส่วนประกอบหลักก่อนที่จะเรียนรู้ส่วนประกอบเล็ก ๆ อย่างอื่น โดยส่วนประกอบหลักของ Elliott Wave แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Motive Wave (คลื่นกระตุ้น) และ Corective Wave (คลื่นพักตัว) ซึ่งแต่ละประเภทจะเป็นคลื่นที่แสดงความเคลื่อนไหวของราคาที่แตกต่างกันออกไป

Elliott Wave = Motive Wave + Corective Wave

Motive Wave (คลื่นกระตุ้น) = 1-2-3-4-5

Corective Wave (คลื่นพักตัว) = A-B-C

ดังนั้น 1 วัฎจักรของคลื่น จึงประกอบด้วยคลื่น 1, 2, 3, 4, 5 และ a, b, c ซึ่งหาก Elliott Wave เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมาจะถูกเรียกว่า Fractal Nature

Elliott Wave

Motive Wave

motive wave

Motive Wave คือ คลื่นกระตุ้นที่เคลื่อนไหวตามเทรนด์ใหญ่ ณ ขณะนั้น แบ่งออกเป็นคลื่นเล็ก ๆ 5 คลื่น ได้แก่ 1, 2, 3, 4 และ 5

Corective Wave

Corective Wave

Corective Wave คือ คลื่นพักตัวที่เคลื่อนไหวสวนเทรนด์ใหญ่ ณ ขณะนั้น แบ่งออกเป็นคลื่นเล็ก ๆ 3 คลื่น ได้แก่ A, B และ C

การดูแนวโน้ม และกฎการนับคลื่นของ Elliott Wave

สำหรับหัวข้อนี้ เราจะอธิบายเกี่ยวกับการดูแนวโน้มราคาด้วย Elliott Wave ว่า ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) และแนวโน้มขาลง (Downtrend) คลื่นต้องมีลักษณะแบบใด ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนั้น กฎการนับคลื่นของแต่ละแนวโน้มจึงมีกฎที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

Elliott Wave ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)

Elliott Wave in an Uptrend

การดูแนวโน้มขาขึ้นด้วย Elliott Wave

  • Motive Wave (5 คลื่น) ปรับตัวขึ้น
  • Corective Wave (3 คลื่น) ปรับตัวลง

กฎการนับคลื่นของ Elliott Wave ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)

  • การที่จะเกิด Elliott Wave ในแนวโน้มขาขึ้น ต้องประกอบด้วยคลื่น 8 คลื่นหลัก
  • Wave 2 ต้องไม่ลงมาต่ำกว่าจุดต่ำสุดของ Wave 1
  • Wave 3 ต้องไม่เป็นเส้นที่สั้นที่สุด
  • Wave 4 ต้องไม่ลงมาต่ำกว่าจุดสูงสุดของ Wave 1
  • Wave 5 ต้องขึ้นสูงกว่า Wave 3
  • Wave B ต้องไม่ขึ้นสูงกว่าจุดสูงสุดของ Wave 5
  • Wave C ต้องลงมาต่ำกว่าจุดต่ำสุดของ Wave A

Elliott Wave ในแนวโน้มขาลง (Downtrend)

Elliott Wave in a Downtrend

การดูแนวโน้มขาขึ้นด้วย Elliott Wave

  • Motive Wave (5 คลื่น) ปรับตัวลง
  • Corective Wave (3 คลื่น) ปรับตัวขึ้น

กฎการนับคลื่นของ Elliott Wave ในแนวโน้มขาลง (Downtrend)

  • การที่จะเกิด Elliott Wave ในแนวโน้มขาลง ต้องประกอบด้วยคลื่น 8 คลื่นหลัก
  • Wave 2 ต้องขึ้นมาสูงกว่าจุดต่ำสุด Wave 1
  • Wave 3 ต้องไม่เป็นเส้นที่สั้นที่สุด
  • Wave 4 ต้องไม่ขึ้นสูงกว่าจุดต่ำสุดของ Wave 1
  • Wave 5 ต้องลงมาต่ำกว่า Wave 3
  • Wave B ต้องไม่ลงมาต่ำกว่าจุดต่ำสุดของ Wave 5
  • Wave C ต้องขึ้นสูงกว่าจุดสูงสุดของ Wave A

จะสังเกตว่า Elliott Wave ในแนวโน้มขาขึ้น และแนวโน้มขาลง มีวิธีการดูที่แตกต่างกัน แต่มี 2 กฎที่เหมือนกัน คือ Elliott Wave จะเกิดขึ้นเมื่อมีคลื่นครบทั้ง 8 คลื่น และ Wave 3 ต้องไม่เป็นเส้นที่สั้นที่สุด

นอกจากนี้ อย่างที่กล่าวไปในหัวข้อ “ส่วนประกอบของ Elliott Wave” ว่า ในแต่ละรูปแบบกลักของกราฟ นั่นคือ Motive Wave และ Corrective Wave จะมีกราฟย่อย ๆ แยกออกไปอีก โดยเราจะเรียกว่า Wave Extensions ซึ่งจะอธิบายอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไป

Wave Extension คืออะไร ?

Wave Extension คือ ส่วนขยายของรูปแบบคลื่นจากประเภทหลัก ซึ่ง Motive Wave สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Impulse Wave และ Diagonal Wave ในส่วนของ Correction Wave สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบเช่นกัน ได้แก่ Sharp Correction และ Sideways Correction โดย Sideways Correction จะแบ่งออกเป็นรูปแบบย่อย ๆ ได้อีก 4 ประเภท เราจะอธิบายรายละเอียดของรูปแบบต่าง ๆ ในหัวข้อถัดไป

Motive Wave

  • Impulse Wave
    • Truncation
  • Diagonal Wave
    • Ending Diagonals
    • Leading Diagonals

Correction Wave

  • Sharp Correction
  • Sideways Correction
    • Sideways Correction
    • Flat Correction
    • Horizontal Triangles
    • Correction Combination
      • Double ZigZag
      • Triple ZigZag

รูปแบบกราฟ Motive Wave : Elliott Wave

รูปแบบกราฟ Motive Wave มีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ Impulse Wave และ Diagonal Wave โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

Motive Wave

  • Impulse Wave
    • Truncation
  • Diagonal Wave
    • Ending Diagonals
    • Leading Diagonals

Impulse Wave

Impulse Wave คือ การที่คลื่นไม่มีแรงส่งมากพอ จนเกิดส่วนขยายให้เป็นรูปแบบปกติ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดในรูปแบบที่เรียกว่า Truncation

Truncation (Truncated Fifth)

Truncation (Truncated Fifth) จะเกิดขึ้นในกรณีที่คลื่น 3 ไม่มีแรงกระตุ้นที่มากพอ ทำให้คลื่น 5 อาจไม่สามารถขึ้นไปสูงกว่าคลื่น 3 ได้ก่อนที่ราคาจะเริ่มเกิดการพักตัวลงในคลื่น A สถานการณ์แบบนี้เรียกว่า “Failure” หรือ “Truncation”

Truncation Elliott Wave

Diagonal Wave

Diagonal Wave คือ การที่คลื่นไม่มีแรงส่งมากพอ จนเกิดส่วนขยายและหดตัวให้เป็นรูปแบบปกติ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดในรูปแบบ Ending และ Leading

Ending Diagonals

Ending Diagonals มักจะเกิดขึ้นในช่วงสุดท้าย Diagonal อาจเป็นสัญญาณได้ว่า จะเกิดแนวโน้มใหม่ในช่วงเวลาสั้น ๆ นอกจากนี้ เมื่อ Diagonal กำลังจะถึงจุดสิ้นสุด จะเกิดเป็นรูปแบบ “ลิ่ม” หรือเส้น Trendline ทั้ง 2 เส้นมาบรรจบกัน

Ending Diagonal

Leading Diagonals

Leading Diagonals ค่อนข้างพบได้ยาก โดยมีโครงสร้างคล้ายกับ Impulse Wave แต่คลื่น 2 และคลื่น 4 อาจทับซ้อนกัน (Overlap) บางโอกาส และสร้างรูปแบบ “ลิ่ม” หรือเส้น Trendline ทั้ง 2 เส้นมาบรรจบกันเช่นเดียวกับ Ending Diagonals

Leading Diagonals

รูปแบบกราฟ Corrective Wave : Elliott Wave

รูปแบบกราฟ Corrective Wave มีอยู่ 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ Sharp Correction และ Sideways Correction โดย Sideways Correction จะแบ่งออกเป็นรูปแบบย่อย ๆ ได้อีก 4 ประเภท ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

Correction Wave

  • Sharp Correction
  • Sideways Correction
    • Sideways Correction
    • Flat Correction
    • Horizontal Triangles
    • Correction Combination
      • Double ZigZag
      • Triple ZigZag

📌 Sharp Correction คือ การที่คลื่นเคลื่อนไหวสวนเทรนด์

📌 Sideways Correction คือ การที่คลื่นค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปหาราคาก่อนจะถึงจุดสิ้นสุด โดยรูปแบบนี้ค่อนข้างมีความซับซ้อนกว่า Sharp มาก ซึ่ง Ralph Nelson Elliott ได้สรุป Sideways Correction ไว้ 4 รูปแบบดังนี้

ZigZag Correction

ZigZag Correction คือ Corrective Waves 3 คลื่น A–B–C ที่มีคลื่นย่อย 5-3-5 จำนวน 13 คลื่นขึ้นไป เพื่อยืนยันการเกิด ZigZag Correction โดยรูปแบบนี้อาจมีมากกว่า 1 คลื่น และกลายเป็น Double ZigZag หรือ Triple ZigZag

ZigZag Correction

Flat Correction

Flat Correction คือ Corrective Waves 3 คลื่น A–B–C ที่มีคลื่นย่อย 5-3-5 จำนวน 13 คลื่นขึ้นไปเช่นเดียวกับ ZigZag แต่จะมีการส้รางคลื่นย่อย a-b-c ระหว่างทางการปรับตัวของแนวโน้มหลัก (คลื่น 5 ไป คลื่น A และ คลื่น A ไป คลื่น B) ในส่วนของการกลับตัวจาก คลื่น B ไป คลื่น C จะเกิดคลื่นย่อย i–ii–iii–iv–v

  • จุดสูงสุด คลื่น 5 และ จุดสูงสุด B(c) จะอยู่ในระนาบเดียวกัน
  • จุดต่ำสุด A(c) และ จุดต่ำสุด C(v) จะอยู่ในระนาบเดียวกัน

Flat Correction

นอกจากนี้ อาจมีการเกิด Expanded Flat Correction ขึ้นได้ โดยจะแตกต่างจาก Flat Correction ตรงที่ จุดสูงสุด คลื่น 5 จะอยู่ต่ำกว่า จุดสูงสุด B(c) และ จุดต่ำสุด A(c) จะอยู่สูงกว่า จุดต่ำสุด C(v)

  • จุดสูงสุด คลื่น 5 จะอยู่ต่ำกว่า จุดสูงสุด B(c)
  • จุดต่ำสุด A(c) จะอยู่สูงกว่า จุดต่ำสุด C(v)

Expanded Flat Correction

Horizontal Triangles

Horizontal Triangles คือ Corrective Waves 5 คลื่น A–B–C–D–E แบบขยายออก โดยจะมีคลื่นย่อย 3-3-3-3-3 ประมาณ 15 คลื่น เพื่อเป็นการยืนยันว่า Horizontal Triangles ได้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งรูปแบบของ Horizontal Triangles จะเป็นการตีเส้น Trendline แบบ “ลิ่ม” และดูแนวโน้มที่จุด E(c)

  • ถ้า E(c) ทะลุแนวรับลงมา จะเรียกว่า Descending Triangle = สัญญาณแนวโน้มขาลง
  • ถ้า E(c) ทะลุแนวต้านขึ้นไป จะเรียกว่า Ascending Triangle = สัญญาณแนวโน้มขาลง

Horizontal Triangles

Correction Combination

Correction Combination คือ ภาวะที่ตลาดมีการกลับตัว หรือพักตัวในขณะที่ตลาดเป็น Sideway โดยรูปแบบนี้สะท้อนถึงความซับซ้อนของคลื่นราคาสินทรัพย์ และมักจะแสดงออกมาในรูปแบบของกราฟที่ยุ่งเยิง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ Double ZigZag และตลาดอาจเกิดภาวะ Sideway ต่อจนถึง Triple ZigZag

Double ZigZag

การดู Double ZigZag ให้ทำสัญลักษณ์ W-X-Y เพิ่มเข้าไปในคลื่นย่อย เพื่อดูว่ากราฟจะไปในทิศทางใดต่อ

Double ZigZag

Triple ZigZag

Triple ZigZag จะเกิดขึ้นหลังจาก Double ZigZag โดยเมื่อทำสัญลักษณ์ W-X-Y แล้ว แต่ตลาดดูเหมือนจะดำเนินไปในทิศทาง Sideway ต่อ ดังนั้น ให้ทำการเพิ่มสัญลักษณ์ X-Z เข้าไป และรอดูว่า ทิศทางราคาจะออกจากแนวโน้ม Sideway ไปในทิศทางใด

Triple ZigZag

การใช้ Elliott Wave อ่านอารมณ์ของนักลงทุน (จิตวิทยา)

ทฤษฎี Elliott Wave เราจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ นักลงทุนรายใหญ่, นักเก็งกำไรระยะสั้น และนักลงทุนรายย่อย

1. นักลงทุนรายใหญ่ = ผู้ที่มีเม็ดเงินมหาศาลหลักพันล้านถึงหมื่นล้านดอลลาร์ สะสมของ ในช่วงที่ไม่มีข่าวอะไรเกิดขึ้น จะส่งผลให้กราฟพุ่งขึ้นอย่างรุนแรง

2. นักเก็งกำไรระยะสั้น = ส่วนใหญ่จะเข้าซื้อในช่วงคลื่นที่ 2

3. นักลงทุนรายย่อย = ส่วนใหญ่จะเข้าซื้อในช่วงที่มีข่าวดี หรือในช่วงที่สินทรัพย์เกิดกระแสขึ้นมา

*หมายเหตุ : ถึงแม้ทฤษฎี Elliott Wave จะสามารถวิเคราะห์อารมณ์ของนักลงทุนได้ระดับหนึ่ง แต่การใช้ “แนวรับและแนวต้าน” ยังมีส่วนสำคัญ รวมถึงการวิเคราะห์ Price Pattern ต่าง ๆ

การใช้ Elliott Wave คู่กับอินดิเคเตอร์

แน่นอนว่า การใช้ Elliott Wave เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ค่อนข้างได้ผลรับกว่า 90% หากคุณสามารถจดจำและเข้าใจความไปเป็นของกราฟในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งหมด แต่ตัวช่วยสำคัญอีกหนึ่งตัวที่จะเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์ และยืนยันว่า คุณเปิดออเดอร์ถูกทางแล้ว คือ อินดิเคเตอร์ (Indicator) โดย Elliott Wave สามารถใช้คู่กับอินดิเคเตอร์หลายตัว ดังนี้

*หมายเหตุ : การตั้ง Take Profit และ Stop Loss โดยใช้แนวรับและแนวต้านเข้ามาพิจารณาร่วมด้วย ถือเป็นวิธีป้องกันความเสี่ยงได้ดีอีกอย่างหนึ่ง

ข้อจำกัดของ Elliott Wave

เนื่องจาก Elliott Wave เป็นทฤษฎีที่อ้างอิงมาจากวัฏจักรตามธรรมชาติของราคาสินทรัพย์ ทำให้สามารถใช้ได้กับทุกสภาวะตลาด และทุกสินทรัพย์ ดังนั้น Elliott Wave จึงไม่มีข้อจำกัดในการใช้แต่อย่างใด ในทางกลับกัน คุณต้องสามารถเข้าใจหลักการ และจดจำรูปแบบความเป็นไปของกราฟต่าง ๆ ให้ได้ เพราะหากคุณนับคลื่นผิดไปเพียงคลื่นเดียว อาจส่งผลให้การวิเคราะห์ของคุณผิดเพี้ยนไปได้เลน

นอกจากนี้ Ralph Nelson Elliott ยังยืนยันความคิดเห็นที่ว่า หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการใช้ทฤษฎี Elliott Wave ควรใช้เทคนิค หรืออินดิเคเตอร์อื่น ๆ เข้ามาช่วยวิเคราะห์

สรุป ทฤษฎี Elliott Wave ใช้ได้จริงไหม

ทฤษฎี Elliott Wave คือ การวิเคราะห์แนวโน้มราคาด้วยพื้นฐานของวัฎจักรคลื่น หรือธรรมชาติของราคานั่นเอง ซึ่ง Elliott Wave ช่วยในการระบุแนวโน้มต่อไปได้ค่อนข้างแม่นยำ อีกทั้งยังสะท้อนถึงอารมณ์ของนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดอีกด้วย โดยคลื่น Elliott Wave มีอยู่หลายรูปแบบ และมีหลักการดูมากมาย ซึ่งเราได้อธิบายอย่างละเอียดไว้ในบทความข้างต้นแล้ว

ถึงแม้ Elliott Wave จะสามารถวิเคราะห์ราคาได้ทุกสินทรัพย์ และทุกสภาวะตลาด แต่เพื่อความแม่นยำควรใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ต่าง ๆ รวมถึงเทคนิคการเทรดที่ถนัดของแต่ละบุคคล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรด เนื่องจาก Elliott Wave ค่อนข้างมีความซับซ้อน แต่หากคุณสามารถทำความเข้าใจมันได้ คุณก็มีโอกาสชนะในตลาดไปกว่า 90% แล้ว อย่างไรก็ตาม การลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้น ผุ้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อนลงทุนใด ๆ

——————————🐣——————————-

คุณกำลังมองหาโบรกเกอร์เทรด Forex อยู่หรือเปล่า?

โบรกเกอร์ Forex ที่ดีที่สุด Spread ต่ำ ปี 2023

โบรกเกอร์ Forex ที่ดีที่สุด โบนัสฟรี ปี 2023

โบรกเกอร์ Forex ที่ดีที่สุด เทรดทอง ปี 2023

โบรกเกอร์ Forex ที่ดีที่สุด ยอดนิยม น่าเชื่อถือ ปี 2023

โบรกเกอร์ Forex ที่ดีที่สุด ฝากถอนไว ปี 2023

โบรกเกอร์ Forex ที่ดีที่สุด ที่น่าเชื่อถือ ปี 2023

โบรกเกอร์ Forex ที่ดีที่สุด Free Swap ปี 2023

Table of Contents
TOP FOREX BROKERS
1
5/5
IUX Markets
IUX Markets
5/5
2
3/5
IC Markets
IC Markets-top-forex-brokers
IC Markets
4/5
3
4/5
FXGT.com
FXGT.com
4/5
4
3/5
Hantec Markets
Hantec Markets
3/5
5
4/5
Eightcap
Eightcap
3/5

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

– Advertisement –

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

FOLLOW US
บทความที่เกี่ยวข้อง

– Advertisement –