ตามธรรมชาติของการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น ตลาดหุ้นหรือ Cryptocurrencies นักลงทุนหลายคนคงรู้จักกับคำว่า Market Cap เป็นอย่างดี เนื่องจากคำ ๆ นี้ เป็นการวัดมูลค่าตลาดที่สามารถประเมินได้ว่า สินทรัพย์ประเภทใดเหมาะกับความคุ้มค่าในการลงทุน วันนี้ทีมงาน Gotradehere จะพาทุกคนมารู้จักกับคำว่า Market Cap คืออะไร? ดูได้จากตรงไหน และทำไมนักลงทุนจึงควรรู้ไว้! รวมทั้ง 5 Market Cap ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในโลก เพื่อให้เป็นความรู้ให้แก่นักลงทุนทุกท่าน ฉะนั้นแล้ว ห้ามพลาด
Market Cap คืออะไร? และทำไมนักลงทุนจึงควรรู้ไว้!
Market Cap หรือ Market Capitalization Index คือ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ที่จะใช้ในการประเมินขนาดและอิทธิพลของบริษัท โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้นักลงทุนเห็นถึงจำนวนเงินในสินทรัพย์ที่ลงทุนว่า มีมูลค่าเท่าใด? และเหมาะสมสำหรับการลงทุนหรือไม่?
อีกทั้ง นักลงทุนยังใช้ Market Cap เพื่อเลือกจับจองซื้อหุ้นหรือ Cryptocurrencies ที่ตัวเองสนใจ เพราะยิ่งมี Market Cap ขนาดใหญ่มากเท่าไหร่ก็แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนเกิดความไว้วางใจใน Market Cap ตัวนั้น ๆ , มีการซื้อขาย และสามารถลงทุนได้จริง
*** หมายเหตุ *** Market Cap เป็นจำนวนหุ้นที่มีการซื้อขายหมุนเวียนอยู่ในบริษัทอย่างเสรี แต่ไม่ใช่การรวมหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัท
Market Cap ดูได้จากตรงไหน?
Market Cap Cryptocurrencies สามารถคำนวณได้จากการนำ “ราคาตลาด X ปริมาณของสินทรัพย์” ส่วน Market Cap ของหุ้นสามารถคำนวณได้จาก “ราคาหุ้น X จำนวนหุ้นบริษัท” ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A มีจำนวนหุ้นทั้งหมด 50 ล้านหุ้น และราคาหุ้นละ 10 บาท ดังนั้น Market Cap ของบริษัท A จะอยู่ที่ 500 ล้านบาทนั่นเอง
อย่างไรก็ดี เมื่อ Market Cap มีการขึ้นอยู่กับราคาหุ้น ทำให้มูลค่าของมันจะเปลี่ยนแปลงไปตามราคาหุ้นอยู่ตลอดเวลา หาก Market Cap ของราคาหุ้นในบริษัทใหญ่ ๆ หรืออุตสาหกรรมประเภทพลังงาน, ธนาคาร และค้าปลีกมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น มักจะส่งผลกระทบให้มูลค่ารวมของตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญตามไปด้วย
เคล็ดลับ! นักลงทุนสามารถดูได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น CoinMarketCap ของ Cryptocurrencies หรือตลาดหุ้นไทยอย่าง SET เป็นต้น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อ Market Cap มีอะไรบ้าง?
ปัจจัยหลัก ๆ ที่ส่งผลต่อ Market Cap มีอยู่ 2 ปัจจัย ได้แก่
- ราคาหุ้น
- จำนวนหุ้นรวมที่จำหน่ายในตลาด
เมื่อราคาหุ้นของบริษัทที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามความต้องการของ Demand และ Supply ก็จะส่งผลให้ Market Cap เกิดความผันผวน อีกทั้งจำนวนหุ้นรวมที่จำหน่ายอยู่ในตลาดของบริษัทใหญ่ ๆ ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญก็จะส่งผลให้ราคาในตลาดเริ่มมีการปรับตัวตามไปด้วย
Market Cap บ่งบอกถึงอะไร?
สำหรับตลาดหุ้น Market Cap บ่งบอกได้ว่า นักลงทุนสามารถประเมินผลตอบแทน และความเสี่ยงของบริษัทที่คุณสนใจลงทุน เพื่อให้การลงทุนของคุณนั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากคุณต้องการลงทุนในระยะยาว ควรเลือก Market Cap ที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้การลงทุนของคุณมีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูง
ส่วน Market Cap Cryptocurrencies จะช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินมูลค่าของสกุลเงินดิจิทัล รวมทั้งยังเป็นสถิติที่บ่งชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการเติบโตของสกุลเงินดิจิทัลในอนาคตได้ดีอีกด้วย
Market Cap มีกี่ประเภท
โดยปกติแล้ว Market Cap สามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามตารางดังต่อไปนี้
ประเภท | ขนาดของ Market Cap |
Nano-Cap | น้อยกว่า-50 ล้านดอลลาร์ |
Micro-Cap | 50 ล้านดอลลาร์-300 ล้านดอลลาร์ |
Small-Cap | 300 ล้านดอลลาร์-2,000 ล้านดอลลาร์ |
Mid-Cap | 2,000 ล้านดอลลาร์-10,000 ล้านดอลลาร์ |
Large-Cap | 10,000 ล้านดอลลาร์-200,000 ล้านดอลลาร์ |
Mega-cap | 200,000 ล้านดอลลาร์ขึ้นไป |
ยกเว้นแต่ Market Cap Cryptocurrencies ที่สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามตารางดังต่อไปนี้
ประเภท | ขนาดของ Market Cap |
Small-Cap | น้อยกว่า-1,000 ล้านดอลลาร์ |
Mid-Cap | 1,000 ล้านดอลลาร์-10,000 ล้านดอลลาร์ |
Large-Cap | 10,000 ล้านดอลลาร์ขึ้นไป |
ข้อจำกัดของ Market Cap
1. ความผันผวนของตลาด
Market Cap จะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดเป็นอย่างมาก เนื่องจากพฤติกรรมของนักลงทุนจะส่งผลให้มูลค่าราคาของตลาดเกิดความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากในช่วงเวลานั้น ๆ
2. การประเมินมูลค่า
การประเมินมูลค่าจะส่งผลให้ Market Cap ได้รับผลกระทบ เนื่องจากการพฤติกรรมของนักลงทุนจากการประมาณการและคาดหวังต่อตลาด ซึ่งจะส่งผลให้การเก็งกำไรระยะสั้นไม่สอดคล้องกับสถานะทางการเงินของบริษัท
5 Market Cap ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในโลก
1. Apple
- Apple มี Market Cap อยู่ที่ 93.28 ล้านล้านบาท
- ข้อมูลทั่วไปของบริษัท : Apple ถือได้ว่าเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ซึ่งในในปัจจุบัน Apple ดำเนินกิจการคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ รวมทั้งบริการอื่น ๆ ของ Apple เช่น iPhone, iPad, MacBook, App Store AppleCare และดิจิทัลคอนเทนต์ เป็นต้น
2. Microsoft
- Microsoft มี Market Cap อยู่ที่ 81.04 ล้านล้านบาท
- ข้อมูลทั่วไปของบริษัท : Microsoft เป็นบริษัที่ดำเนินธุรกิจประเภทปฏิบัติการซอฟต์แวร์ อย่าง Microsoft Window และ Microsoft Office รวมทั้งธุรกิจสาย Productivity & Business เช่น Microsoft Surface เป็นต้น
3. Alphabet
- Alphabet มี Market Cap อยู่ที่ 53.94 ล้านล้านบาท
- ข้อมูลทั่วไปของบริษัท : Alphabet หรือ เจ้าของ Google เป็นบริษัทที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต และดำเนินธุรกิจประเภท Search Engine เช่น โฆษณา ระบบปฏิบัติการ Android Brower และ YouTube เป็นต้น
4. Amazon
- Amazon มี Market Cap อยู่ที่ 38.76 ล้านล้านบาท
- ข้อมูลทั่วไปของบริษัท : Amazon ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับแพลตฟอร์ม Amazon.com และธุรกิจคลังสินค้า, ธุรกิจขนส่ง และธุรกิจปลีกแบบออฟไลน์ เป็นต้น
5. NVIDIA
- NVIDIA มี Market Cap อยู่ที่26.21 ล้านล้านบาท
- ข้อมูลทั่วไปของบริษัท : NVIDIA เป็นผู้ผลิต GPU คือการ์ดจอสำหรับสายเกมเมอร์ รวมทั้งลูกค้ากลุ่มกราฟิก ลูกค้ากลุ่มยานยนต์ และการรับทำระบบชิป OEM ให้กับธุรกิจอื่น ๆ อีกด้วย
———————————— 🐣 ————————————
คุณกำลังมองหาบทความเกี่ยวกับหุ้น หรือ Cryptocurrencies อยู่หรือเปล่า?
เช็กก่อนเปิดจอง ! หุ้นกู้ออกใหม่ ประจำเดือนสิงหาคม 2566 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยสูงถึง 5.10%
สุดยอด! 10 หุ้นปันผลสูง 2566 หุ้นพื้นฐานดี น่าลงทุน จ่ายปันผลมานานกว่า 10 ปี
ซื้อหุ้นตัวไหนดี ? เปิด 3 หุ้นน่าลงทุนระยะยาว ที่มีโอกาสเติบโตในอนาคตเกือบ 90%
9 เหรียญคริปโตน่าลงทุน มาแรง อนาคตไกล ปี 2023
สรุป
ทั้งหมดนี้สรุปได้ว่า Market Cap คือ มูลค่าของหลักทรัพย์ตามราคาของตลาด ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อนักลงทุน เพราะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของบริษัทที่นักลงทุนสนใจลงทุนได้
อย่างไรก็ตาม ทุกการลงทุนล้วนมีความเสี่ยง หากนักลงทุนวิเคราะห์เพียง Market Cap อย่างเดียว ก็ไม่สามารถประเมินถึงผลตอบแทนในอนาคตได้ เนื่องจากข้อจำกัดของ Market Cap นั้นเกี่ยวข้องกับการผันผวนของตลาดและการประเมินมูลค่าจากนักลงทุน
ดังนั้นแล้ว นักลงทุนควรวิเคราะห์จากปัจจัยอื่น ๆ เช่นแนวโน้มของราคา หรือข่าวสารทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อที่จะสามารถพิจารณาได้ว่า การลงทุนของคุณนั้นคุ้มค่าในอนาคตหรือไม่
อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge
อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News