Pivot Point อินดิเคเตอร์วิเคราะห์ทางเทคนิคที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ช่วยให้เทรดเดอร์ระบุระดับแนวรับแนวต้านที่สำคัญ ซึ่งอาจบ่งบอกถึงโอกาสในการซื้อขายที่อาจเกิดขึ้น สำหรับอินดิเคเตอร์ Pivot Point ถือว่าเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อน ในวันนี้ทีมงาน Gotradehere จะพาทุกคนไปรู้จักกับ Pivot Point คืออะไร? มีวิธีใช้หรือตั้งค่ายังไง? มาติดตามกันได้ในบทความครั้งนี้เลยครับ
———————————— 🐣 ————————————
คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับ Pivot Point
คำศัพท์ | ความหมาย |
---|---|
แนวรับ (Support) | เส้นที่รับแนวของกราฟราคาไม่ให้ลงต่อไปมากกว่าเดิม จะอยู่ต่ำกว่าระดับราคาปัจจุบันเสมอ |
แนวต้าน (Resistance) | เส้นที่รับแนวของกราฟราคาไม่ให้ขึ้นไปต่อมากกว่าเดิม จะอยู่เหนือระดับราคาปัจจุบันเสมอ |
ราคาสูงสุด (High) | จุดที่ราคาเคยขึ้นไป “สูงสุด” |
ราคาต่ำสุด (Low) | จุดที่ราคาเคยลงไป “ต่ำสุด” |
Pivot Point คือ
Pivot Point คือ เครื่องมือที่เทรดเดอร์ใช้สำหรับระบุระดับของแนวรับและแนวต้านแบบอัตโนมัติ ซึ่ง Pivot Point สามารถนำไปใช้กับการเทรด Forex ได้เช่นกัน เนื่องจากตลาดดังกล่าวถือว่าเป็นตลาดที่มีความผันผวนสูงและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการใช้แนวรับ-แนวต้านเข้ามาช่วยในการเทรดจึงเป็นผลดีกับตัวเทรดเดอร์เอง ดังนั้นแล้ว Pivot Point จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ตอบโจทย์ในเรื่องนี้เป็นอย่างมากครับ
ทำความรู้จัก “แนวรับ-แนวต้าน”
แนวรับ (Support) หมายถึง แนวที่ไว้รองรับ หรือแนวที่รองรับกราฟไว้ไม่ให้มันลงต่อไปมากกว่านี้นั่นเอง ซึ่งแนวรับนั้นจะต้องอยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบันเท่านั้นจึงจะเรียกว่าแนวรับ ซึ่งเส้นแนวรับสามารถช่วยให้เทรดเดอร์เห็นจุดกลับตัวของแนวโน้มราคาฝั่งขาขึ้นได้เช่นกันครับ
แนวต้าน (Resistance) หมายถึง แนวที่ต้านกราฟไว้ไม่ให้ขึ้นไปต่อ ซึ่งแนวต้านนั้นก็จะตรงกันข้ามกับแนวรับนั่นเอง คือ แนวต้านจะเป็นแนวราคาที่ต้องอยู่เหนือราคาปัจจุบันเท่านั้นจึงจะเป็นแนวต้าน ซึ่งเส้นแนวต้านสามารถช่วยให้เทรดเดอร์เห็นจุดกลับตัวของแนวโน้มราคาฝั่งขาลงได้เช่นกันครับ
แนวรับ-แนวต้านช่วยอะไรเทรดเดอร์บ้าง
- ช่วยให้หาจุดเข้าซื้อ-ขาย: เทรดเดอร์สามารถใช้แนวรับ-แนวต้านเป็นแนวทางในการหาจุดเข้าซื้อเมื่อราคาตกลงมาถึงแนวรับ และหาจุดขายเมื่อราคาขึ้นไปถึงแนวต้าน
- ช่วยวางแผนการเทรด: แนวรับ-แนวต้านช่วยให้เทรดเดอร์สามารถกำหนดจุดตัดสินใจในการซื้อ-ขาย หรือตั้งจุด Stop Loss และ Take Profit ล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงได้
- ช่วยในการคาดการณ์แนวโน้มราคา: แนวรับ-แนวต้านช่วยให้เทรดเดอร์คาดการณ์แนวโน้มราคาในอนาคต โดยพิจารณาจากการทะลุหรือไม่ทะลุแนวรับ-แนวต้าน
สูตรการคำนวณ Pivot Point
เทรดเดอร์สามารถคำนวณ Pivot Point ได้ด้วยสูตรการคำนวณดังต่อไปนี้ครับ
Pivot Point = [ราคาสูงสุด(High) + ราคาต่ำสุด(Low) + ราคาปิด(Close)] / 3
จากนั้นเทรดเดอร์จะต้องนำผลลัพธ์ที่ได้จากสูตรข้างต้นมาคำนวณหาเส้นแนวรับ-แนวต้านเพิ่มดังนี้ครับ
- เส้นแนวรับที่ 1 (S1) : (Pivot Point x 2) – ราคาสูงสุด (High)
- เส้นแนวรับที่ 2 (S2) : Pivot Point – [ราคาสูงสุด (High) – ราคาต่ำสุด (Low)]
- เส้นแนวต้านที่ 1 (R1) : (Pivot Point x 2) – ราคาต่ำสุด (Low)
- เส้นแนวต้านที่ 2 (R2) : Pivot Point + [ราคาสูงสุด (High) – ราคาต่ำสุด (Low)]
Pivot Point มีกี่ประเภท? อะไรบ้าง?
Pivot Point แบบ Classic
เป็น Pivot Point ที่เทรดเดอร์นิยมใช้กันมากที่สุดโดยจะต้องคำนวณหาเส้นแนวรับ-แนวต้านทั้งหมด 6 เส้น ประกอบไปด้วยเส้นแนวต้าน 3 เส้น (R1-R3) และเส้นแนวรับ 3 เส้น (S1-S3) โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้
Pivot Point = [ราคาสูงสุด + ราคาต่ำสุด + ราคาปิด] / 3
- เส้นแนวรับที่ 1 (S1) : (Pivot Point x 2) – ราคาสูงสุด
- เส้นแนวรับที่ 2 (S2) : Pivot Point – [ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด]
- เส้นแนวรับที่ 3 (S3) : ราคาต่ำสุด – 2 x [ราคาสูงสุด – Pivot Point]
- เส้นแนวต้านที่ 1 (R1) : (Pivot Point x 2) – ราคาต่ำสุด
- เส้นแนวต้านที่ 2 (R2) : Pivot Point + [ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด]
- เส้นแนวต้านที่ 3 (R3) : ราคาสูงสุด + 2 x [ราคาต่ำสุด – Pivot Point]
Pivot Point แบบ Fibonacci
เป็น Pivot Point ที่มีการนำเอาอัตราส่วน Fibonacci เข้ามาคำนวณแนวรับแนวต้านโดย Pivot Point แบบ Fibonacci จะประกอบไปด้วย Pivot Point จำนวน 1 จุด และเส้นแนวรับแนวต้านจำนวน 6 ระดับ ซึ่งช่วยให้การระบุเส้นแนวรับแนวต้านมีความแม่นยำและชัดเจนมากกว่าแบบ Classic โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้
Pivot Point = [ราคาสูงสุด + ราคาต่ำสุด + ราคาปิด] / 3
- เส้นแนวต้าน 1 (R1): Pivot Point + 0.236 x [ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด]
- เส้นแนวต้าน 2 (R2): Pivot Point + 0.382 x [ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด]
- เส้นแนวต้าน 3 (R3): Pivot Point + 0.500 x [ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด]
- เส้นแนวต้าน 4 (R4): Pivot Point + 0.618 x [ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด]
- เส้นแนวต้าน 5 (R5): Pivot Point + 0.786 x [ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด]
- เส้นแนวต้าน 6 (R6): Pivot Point + 1.000 x [ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด]
- เส้นแนวรับ 1 (S1): Pivot Point – 0.236 x [ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด]
- เส้นแนวรับ 2 (S2): Pivot Point – 0.382 x [ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด]
- เส้นแนวรับ 3 (S3): Pivot Point – 0.500 x [ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด]
- เส้นแนวรับ 4 (S4): Pivot Point – 0.618 x [ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด]
- เส้นแนวรับ 5 (S5): Pivot Point – 0.786 x [ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด]
- เส้นแนวรับ 6 (S6): Pivot Point – 1.000 x [ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด]
Pivot Point แบบ Camarilla
เป็น Pivot Point ที่นำเอาราคาปิดของแต่ละวันมาคำนวณแทนค่า Pivot Point พื้นฐาน ซึ่งจะประกอบไปด้วยเส้นแนวรับและแนวต้านจำนวนอย่างละ 4 เส้น เหมาะสำหรับการเทรดระยะสั้น โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้ครับ
- เส้นแนวต้านที่ 1 (R1) = (ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด) x 1.1 /12 + ราคาปิด
- เส้นแนวต้านที่ 2 (R2) = (ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด) x 1.1 /6 + ราคาปิด
- เส้นแนวต้านที่ 3 (R3) = (ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด) x 1.1 /4 + ราคาปิด
- เส้นแนวต้านที่ 4 (R4) = (ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด) x 1.1 /2 + ราคาปิด
- เส้นแนวรับที่ 1 (S1) = ราคาปิด – (ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด) x 1.1 /12
- เส้นแนวรับที่ 2 (S2) = ราคาปิด – (ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด) x 1.1 /6
- เส้นแนวรับที่ 3 (S3) = ราคาปิด – (ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด) x 1.1 /4
- เส้นแนวรับที่ 4 (S4) = ราคาปิด – (ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด) x 1.1 /2
Pivot Point ใช้บอกอะไรได้บ้าง ?
Pivot Point ใช้ระบุจุดแนวรับ-แนวต้าน
อย่างที่ได้กล่าวไปในช่วงแรกของบทความ Pivot Point ถือเป็น Indicator ที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถระบุจุดแนวรับ-แนวต้านได้แบบอัตโนมัติ ซึ่งเส้นแนวรับ-แนวต้านจะช่วยเทรดเดอร์สามารถระบุจุดกลับตัวของราคาผ่านการดีดกลับของราคาเมื่อตกถึงเส้นแนวรับ-แนวต้านครับ
Pivot Point ใช้บอกจุดเข้าซื้อขายผ่านเส้นแนวรับ-แนวต้าน
เทรดเดอร์สามารถใช้ Pivot Point คำนวณเส้นแนวรับ-แนวต้านได้อัตโนมัติและใช้เส้นดังกล่าวในการวิเคราะห์ทิศทางราคาเพื่อหาจุดเข้าซื้อขายเพื่อทำกำไรได้ โดยสามารถพิจารณาได้ดังนี้ครับ
- หากกราฟราคาทะลุเส้นแนวต้าน มีโอกาสที่ราคาจะดีดตัวกลับลง เทรดเดอร์สามารถพิจารณาเปิดออเดอร์ฝั่ง Sell เพื่อทำกำไรในระยะสั้นได้
- หากกราฟราคาทะลุเส้นแนวรับ มีโอกาสที่ราคาจะดีดตัวขึ้น เทรดเดอร์สามารถพิจารณาเปิดออเดอร์ฝั่ง Buy เพื่อทำกำไรในระยะสั้นได้ครับ
ข้อดีและข้อจำกัดของการใช้ Pivot Point
ข้อดีของ Pivot Point
- ใช้ระบุแนวรับ-แนวต้านได้อัตโนมัติ
- ใช้มองแนวโน้มทิศทางราคาและโอกาสกลับตัวของราคา
- ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับมือใหม่
- ปรับใช้กับกลยุทธ์อื่น ๆ เช่น Pending Order, Stop Loss หรือ Take Profit เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดได้
ข้อเสียของ Pivot Point
- Pivot Point อาจเกิดสัญญาณหลอกได้
- Pivot Point ถือเป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณหาแนวรับ-แนวต้าน ไม่ได้ใช้เพื่อวัดทิศทางตลาดโดยตรง ทำให้การวิเคราะห์แนวโน้มราคาอาจไม่ได้แม่นยำ 100%
- เทรดเดอร์จำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือ Indicator ชนิดอื่นควบคู่ไปกับ Pivot Point เพื่อป้องกันความเสี่ยง
แนะนำการตั้งค่า Pivot Point ให้เหมาะกับสไตล์การเทรด
สำหรับการตั้งค่า Pivot Point เทรดเดอร์จะต้องพิจารณา Time Frame ให้เหมาะกับสไตล์การเทรดของแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น
- การเทรดแบบ Day Trade คือ การเก็งกำไรในระยะสั้น โดยอาศัยการเคลื่อนไหวของของราคาในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น โดยปกติจะไม่ถือออเดอร์แบบข้ามวัน ดังนั้นรูปแบบการตั้งค่าที่แนะนำ คือ 5 นาที, 15 นาที, 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ครับ
- การเทรดแบบ Swing คือ คือการเก็งกำไรในระยะสั้น – ระยะกลาง โดยอาศัยการทำกำไรจากการแกว่งตัวของราคา ดังนั้นรูปแบบการตั้งค่าที่แนะนำ คือ 4 ชั่วโมง, 1 วัน, 1 สัปดาห์ หรือ 3 สัปดาห์ ครับ
- การเทรดตาม Breakout คือ การเทรดจากกราฟราคาที่ทะลุเส้นแนวรับหรือแนวต้าน ซึ่งการเกิด Breakout หมายถึง ราคามีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปในทิศทางเดิม ซึ่งเทรดเดอร์สามารถหวังผลจากการทำกำไรจากจุดนี้ได้ ดังนั้นรูปแบบการตั้งค่ามักจะขึ้นอยู่กับสไตล์การเทรดของแต่ละคนครับ
⛔ทั้งนี้การตั้งค่า Time Frame เพื่อประยุกต์ใช้กับอินดิเคเตอร์ Pivot Point สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างอิสระและไม่มีกฎตายตัว เทรดเดอร์ควรศึกษาเครื่องมือและปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกับแนวโน้มทิศทางราคาเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากสัญญาณหลอกจากอินดิเคเตอร์หรือเลือกการตั้งค่าที่เหมาะสมกับสไตล์การเทรดของตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุนครับ
วิธีการใช้ Pivot Point กับการเทรด Forex
📌 การใช้ Pivot Point เพื่อดูความแข็งแกร่งของราคา
เทรดเดอร์สามารถวิเคราะห์ความแข็งแกร่งของราคาเพื่อคาดการณ์แนวโน้มทิศทางราคาในอนาคตได้ โดยมีหลักการสังเกตดังนี้ครับ
- สังเกตจากเส้นสีเหลือง Pivot Point (P) หากกราฟราคามีการปรับตัวลงมาชนกับเส้น (P) มีโอกาสที่ราคาจะลงต่อไปจนถึงระดับแนวรับแรก (S1) ซึ่งหากกราฟราคาสามารถทะลุผ่านเส้นแนวรับที่ 1 (S1) ไปได้ มีแนวโน้มที่ราคาจะปรับตัวลงไปต่อจนถึงเส้นแนวรับที่ 2 (S2) ครับ
💬 นอกจากนี้เทรดเดอร์สามารถสังเกต Price Action เพื่อประกอบการวิเคราะห์แนวโน้มทิศทางราคาควบคู่ไปกับการใช้ Pivot Point ได้เช่นกัน จากภาพเทรดเดอร์จะเห็นกราฟแท่งเทียนแบบ Bearish Doja ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า มีโอกาสสูงที่ราคาจะกลับตัวจากแนวโน้มขาขึ้น เป็นแนวโน้มขาลงครับ
- สังเกตจากเส้นสีเหลือง Pivot Point (P) หากกราฟราคามีการปรับตัวขึ้นไปชนกับเส้น (P) มีโอกาสที่ราคาจะขึ้นไปต่อจนไปถึงระดับแนวต้านที่ 1 (R1) ซึ่งหากกราฟราคาสามารถทะลุเส้นแนวต้านที่ 1 (R1) มีแนวโน้มที่ราคาจะปรับตัวขึ้นไปต่อหรือกลับตัวลงครับ
💡นอกจากนี้เทรดเดอร์ยังสามารถใช้อินดิเคเตอร์อื่น ๆ เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์และยืนยันแนวโน้มของทิศทางราคาคู่กับ Pivot Point เช่น การใช้อินดิเคเตอร์ Moving Average ในการดูทิศทางราคาผ่านเส้น EMA และ SMA ครับ
📌 การใช้ Pivot Point ควบคู่กับคำสั่ง Stop Loss และ Take Profit
เทรดเดอร์สามารถใช้ Pivot Point เพื่อสร้างแนวรับ-แนวต้านสำหรับวิเคราะห์ทิศทางของราคาได้ นอกจากนี้เส้นแนวรับ-แนวต้านยังช่วยให้เทรดเดอร์สามารถป้องกันความเสี่ยงจากการเทรดได้ด้วยการใช้คำสั่ง Stop Loss และ Take Profit ควบคู่กับเส้นแนวรับ-แนวต้าน โดยพิจารณาการใช้คำสั่งได้ดังนี้ครับ
- เทรดเดอร์สามารถตั้ง Stop Loss ในกรณีที่ราคาทะลุระดับแนวรับไปแล้ว โดยเทรดเดอร์สามารถตั้งคำสั่งนี้ไว้ล่วงหน้าในจุดที่ต่ำกว่าเส้นแนวรับ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงจากราคาที่อาจร่วงลงอย่างต่อเนื่องครับ
- เทรดเดอร์สามารถตั้งคำสั่ง Take Profit ในกรณีที่ราคาทะลุระดับแนวต้านไปแล้ว โดยเทรดเดอร์สามารถตั้งคำสั่งนี้ไว้ล่วงหน้าในจุดที่อยู่เหนือกว่าเส้นแนวต้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงจากราคาที่อาจมีการกลับตัวครับ
📌 การใช้ Pivot Point หาจุดซื้อ-ขายเปิดออเดอร์
เทรดเดอร์สามารถใช้เส้นแนวรับ-แนวต้านในการหาจุดเข้าซื้อและจุดขายได้ เมื่อราคามีการชนกันกับเส้นแนวรับ-แนวต้านมีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวหรือเป็นการเริ่มต้นเทรนด์ราคาใหม่ได้เช่นกัน ซึ่งเทรดเดอร์สามารถพิจารณาได้ด้วยหลักการดังต่อไปนี้ครับ
- เมื่อราคามีการชนกับเส้นแนวต้าน (R) มีแนวโน้มว่าราคาอาจมีการกลับตัวเป็นขาลงได้ เทรดเดอร์สามารถพิจารณาเปิดออเดอร์ Sell เพื่อทำกำไรจากการกลับตัวของราคาในแนวโน้มขาลงครับ
- เมื่อราคามีการชนกับเส้นแนวรับ (S) มีแนวโน้มว่าราคาอาจมีการกลับตัวเป็นขาขึ้นได้ เทรดเดอร์สามารถพิจารณาเปิดออเดอร์ Buy เพื่อทำกำไรจากการกลับตัวของราคาในแนวโน้มขาขึ้นครับ
⛔ ทั้งนี้ Pivot Point ไม่ได้ยืนยันแนวโน้มการกลับตัวจากการชนเส้นแนวรับแนวต้านของกราฟราคาเสมอไป เทรดเดอร์อาจใช้ Indicator วิเคราะห์แนวโน้มทิศทางราคาควบคู่ไปกับการสังเกต Price Action ของกราฟแท่งเทียน เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการทำกำไรจากเทรดที่แม่นยำมากยิ่งขึ้นครับ
📌 การใช้ Pivot Point ควบคู่กับ Indicator ประเภทอื่น
สำหรับ Indicator ประเภทอื่น ๆ สามารถใช้ควบคู่กับ Pivot Point เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้มากขึ้น ซึ่งอินดิเคเตอร์ที่สามารถนำมาใช้ควบคู่กับ Pivot Point ได้มีดังนี้ครับ
ตัวอย่างการใช้ Bollinger Bands ควบคู่กับ Pivot Point Indicator
สำหรับ Bollinger Bands เป็นอินดิเคเตอร์ที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถมองเทรนด์ของกราฟราคาได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นตัวช่วยเสริมในการตั้งเส้นแนวรับแนวต้านควบคู่ไปกับ Pivot Point ได้เช่นกันสำหรับตัวอย่างการใช้งานควบคู่สามารถสังเกตได้จากรูปนี้ครับ
- เทรดเดอร์สามารถใช้ Bollinger Bands เพื่อเป็น “แนวรับ-แนวต้านรอง” ควบคู่กับ Pivot Point โดยสังเกตจาก Upper Band แทนด้วยเส้นแนวต้านและ Lower Band แทนด้วยเส้นแนวรับ ซึ่งจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถประเมินการเด้งกลับของราคาสินทรัพย์ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
- เทรดเดอร์สามารถเทรดตามเทรนด์ของตลาดด้วยการสังเกตการวิ่งของกราฟราคาจากเส้น Upper Band และ Lower Band ได้เช่นกัน
- นอกจากนี้ Bollinger Bands ยังบอกสภาวะ Overbought และ Oversold ได้เช่นกัน เทรดเดอร์สามารถสังเกตได้จากกราฟราคาที่ทะลุเกินเส้น Upper Band และ Lower Band ซึ่งสามารถคาดการณ์แนวโน้มราคาที่อาจกลับตัวจากสภาวะที่มีการซื้อ-ขายมากเกินไปได้เช่นกันครับ
ตัวอย่างการใช้ Relative Strength Index ควบคู่กับ Pivot Point Indicator
Relative Strength Index (RSI) เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้วัดการแกว่งตัวของราคาโดยเทียบจากค่าเฉลี่ยราคาที่มีการเปลี่ยนแปลงล่าสุด ซึ่ง RSI ถือเป็นอินดิเคเตอร์ที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถมองแนวโน้มทิศทางราคาได้ง่ายขึ้น และสำหรับการนำมาประยุกต์ใช้กับ Pivot Point ได้ครับ
สำหรับ RSI Indicator สามารถบอกสภาวะ Overbought และ Oversold ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์คาดการณ์แนวโน้มได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยมีหลักการสังเกตและประยุกต์ใช้ดังนี้ครับ
- หากกราฟราคามีการทะลุเส้นแนวรับ Pivot Point ในขณะเดียวกัน RSI มีค่าน้อยกว่า 30 ซึ่งแสดงถึงสภาวะ Oversold หมายความว่า ตลาดมีการขายที่มากเกินไปทำให้ราคาปรับตัวลดลงกว่าปกติ ส่งผลให้มีแนวโน้มที่แรงขายจะลดลงและถูกแทนที่ด้วยแรงซื้อ ซึ่งทำให้ราคาเกิดการชะลอการปรับตัวลงก่อนกลับตัวเป็นขาขึ้นแทน แนะนำให้เทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Buy เพื่อทำกำไรในแนวโน้มขาขึ้นครับ
- หากกราฟราคามีการทะลุเส้นแนวต้าน Pivot Point ในขณะเดียวกัน RSI มีค่ามากกว่า 70 ซึ่งแสดงถึงสภาวะ Overbought หมายความว่า ตลาดมีการซื้อที่มากเกินไปทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นกว่าปกติ ส่งผลให้มีแนวโน้มที่แรงซื้อจะลดลงและถูกแทนที่ด้วยแรงขาย ซึ่งทำให้ราคาเกิดการชะลอการปรับตัวเพิ่มขึ้นก่อนกลับตัวเป็นขาลงแทน แนะนำให้เทรดเดอร์เปิดออเดอร์ Sell เพื่อทำกำไรในแนวโน้มขาลงครับ
💡ซึ่งอินดิเคเตอร์ที่ได้แนะนำให้ใช้ควบคู่กับ Pivot Point เป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น เทรดเดอร์สามารถเลือกใช้อินดิเคเตอร์ประเภทอื่น ๆ ให้เหมาะกับสไตล์การเทรดของตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้แก่ตัวเทรดเดอร์เองครับ
———————————— 🐣 ————————————
🔎 แนะนำอินดิเคเตอร์ชนิดอื่นที่สามารถประยุกต์ใช้กับ Pivot Point ได้
CCI Indicator คืออะไร ? ทำความรู้จักอินดิเคเตอร์วัดระดับราคา ตัวช่วยการเทรดที่ไม่ควรพลาด!
MACD คือ อะไร? Indicator บอกแนวโน้มราคาได้แม่นยำกว่า 90% พร้อมเคล็ดลับการทำกำไร
Ichimoku (อิชิโมกุ) คือ ? Indicator วิธีใช้ง่าย แม้แต่แม่บ้านก็สามารถทำกำไรได้
Moving Average คือ อะไร? สุดยอด Indicator พื้นฐานที่ใช้ง่ายที่สุด ใครก็เทรดได้
Stochastic Oscillator คืออะไร? อินดิเคเตอร์หาจุดซื้อ-ขายที่ดีที่สุดในการเทรด Forex
———————————— 🐣 ————————————
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Pivot Point
Bollinger Bands ดูยังไง
> Bollinger Bands เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ดูเทรนด์และแนวโน้มของทิศทางราคาในตลาด โดยอาศัยการสังเกตจากเส้น Upper Band, Lower Band และ Middle Band ครับ
Indicator ที่เหมาะกับการใช้คู่กับ Pivot Point มีอะไรบ้าง
> สำหรับ Indicator ที่เหมาะสำหรับการใช้คู่กับ Pivot Point มีหลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น Bollinger bands, Moving Average (MA), RSI หรือ MACD เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสไตล์การเทรดของแต่ละคน เทรดเดอร์ควรศึกษาข้อมูลของอินดิเคเตอร์เพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์ควบคู่ไปกับ Pivot Point ครับ
Pivot Point สามารถใช้งานบนแพลตฟอร์มการเทรดใดได้บ้าง
> ปัจจุบัน Pivot Point สามารถใช้งานบนแพลตฟอร์มการเทรด เช่น MetaTrader4 (MT4), MetaTrader5 (MT5) หรือ TradingView เป็นต้นครับ
สรุปภาพรวมเกี่ยวกับ Pivot Point
สำหรับอินดิเคเตอร์ Pivot Point ถือเป็นตัวช่วยสำหรับเทรดเดอร์ในการกำหนดแนวรับ-แนวต้านแบบอัตโนมัติ ซึ่งแนวรับ-แนวต้านถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ นอกจากจะช่วยให้เทรดเดอร์ป้องกันความเสี่ยงแล้วยังช่วยให้สามารถมองแนวโน้มทิศทางราคาได้ด้วยเช่นกันครับ แต่อย่างไรก็ตาม Pivot Point เพียงตัวเดียวอาจจะไม่เพียงพอสำหรับการวิเคราะห์กราฟราคา ดังนั้นแล้วเทรดเดอร์อาจต้องนำเอาอินดิเคเตอร์ประเภทอื่น ๆ เข้ามาช่วยและวิเคราะห์ควบคู่ไปกับ Pivot Point เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์กราฟราคาและเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้แก่เทรดเดอร์ได้ครับ
⛔ สุดท้ายนี้ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง เทรดเดอร์ควรศึกษาข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมอย่างละเอียดควบคู่ไปกับการเทรดเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากความผันผวนของราคาหรือปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อราคาอื่น ๆ ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge
อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News